การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรากับนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 83 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 43 คน และเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบราและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แต่ละแบบทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) รายข้อตั้งแต่ 0.54 – 0.76 มีค่าอำนาจจำแนก (B - index) รายข้อตั้งแต่ 0.22 – 0.61 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบราชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.22 – 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.76 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ E1/E2, E.I. และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t - test (independent samples) และ t - test (dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.28/78.84 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6408 หรือ คิดเป็นร้อยละ 64.08
3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความคงทนในการเรียนรู้
5. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมจีโอจีบรา เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S = 0.58 )
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
องค์การขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชยุตม์ ล้อธีรพันธ์. (2557). การเปรียบเทียบการใช้ โปรแกรม GSP กับโปรแกรม GeoGebraประกอบการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 (หน้า 137–145). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดอกเกตุ ดวงโสมา. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี เรื่อง ฟังก์ชัน ตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิต ศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นพดล อุณหศิริกุล. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตะกั่วป่า “เสนานุกูล.” การประชุมวิชาการระดับชาติ" มสธ วิจัย" ประจำปี 2559 (หน้า 914–920). สุโขทัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). การเรียนคณิตศาสตร์: ความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม. [ออนไลน์]. Retrieved August 25, 2016, from https://social.obec.go.th/node/22
รัตน์ศญาณ์ดา ขันธุแสง. (2555). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริพันธ์ของ ฟังก์ชัน โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิภาพร ทิพย์รักษา, ไพรินทร์ สุวรรณศรี. (2560). การศึกษาความเข้าและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม GeoGebra. The 22nd Annual Meeting in Mathematics (AMM 2017) (หน้า 1– 8). Chiang Mai: Department of Mathematics, Faculty of Science, Chiang Mai University.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: 3 – คิว มีเดีย.
สุทิน บับภาวะตา. (2558). ผลของการใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทาง คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารครุพิบูล, ฉบับพิเศษ, 50–61.
สุภชา เพ็ญจันทร์. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรียนการสอนประกอบโปรแกรมจีเอสพี เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อธิภูมิ พาสงค์. (2560). การใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4MAT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัสเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา ท้องถิ่น สูประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 (457–466).
Arbain, N., & Shukor, N. A. (2015). The Effects of GeoGebra on Students Achievement. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 172(2007), 208–214. https://doi.org/10. 1016/j.sbspro.2015.01.356
Hohenwarter, M., & et al. (2018). การนำซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์เชิงพลวัตชั้นนำของโลกและสื่อการเรียนรู้ มามอบให้กับนักเรียนและครูทุกที่ทั่วโลก. Retrieved from https://www.geogebra.org/ about?ggbLang=th
Majerek, D. (2014). Application of Geogebra for Teaching Mathematics. Advances in Science and Technology Research Journal, 8(24), 51–54. https://doi.org/10.12913/22998624 /567
Preiner, J. (2008). Dynamic Mathematics Software to Mathematics Teachers : the Case of GeoGebra. Dissertation in Mathematics Education, Faculty of Natural Sciences, University of Salzburg.
Saha, R. A., Ayub, A. F. M., & Tarmizi, R. A. (2010). The effects of GeoGebra on mathematics achievement: Enlightening Coordinate Geometry learning. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 8(5), 686–693. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2010.12.095
Shadaan, P., & Leong, K. E. (2013). Effectiveness of Using Geogebra on Students’ Understanding in Learning Circles. The Malaysian Online Journal of Educational Technology, 1(4), 1–11.