การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ด้วยวิธีการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สำหรับวิชาที่เน้นการปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากวิธีการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพัฒนาการของผู้เรียนจากรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น 2) ศึกษาขนาดของผลที่เกิดจากรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 720 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคะแนนการทดสอบ และแบบบันทึกคะแนนความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ดัชนีประสิทธิผล และขนาดของผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านคุณธรรม จริยธรรมและด้านความรู้อยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะทางปัญญาอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ PC Model รูปแบบการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ SIC Model และ KDA Model และทุกรูปแบบการสอนทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับสูงมาก 2) รูปแบบการสอนที่มีขนาดของผลในระดับใหญ่มากต่อผลการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ SIC Model รูปแบบการสอนส่วนใหญ่มีขนาดของผลในระดับใหญ่มากต่อผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ยกเว้น PPP+P Model ทุกรูปแบบการสอนมีขนาดของผลในระดับใหญ่มากต่อผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญากับด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี และรูปแบบการสอนที่มีขนาดของผลในระดับใหญ่มากต่อผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คือ KDA Model และ SIC Model และ 3) ในภาพรวมของทุกโมเดลผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากไปถึงมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(2), 24-27.
บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.
นภาพรรณ เอี่ยมสำอางค์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลการสอน BSCS 5 E. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินทักษะทางปัญญาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2558). กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thai Qualifications Framework for Higher Education). [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/ [สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2561].
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2553). ขนาดผล: ความมีนัยสำคัญทางปฏิบัติในการวิจัย. วารสารภาษาปริทัศน์, 25, 26-38
Johnson, D.W. and Johnson, R. T. (1990). Learning Together and Alone. New Jersey : Prentice-Hall.