การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สายชล แก้วเพชร
กันยารัตน์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุรอบตัวเรา และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2  โรงเรียนชุมชนบ้านเพชร (วันครู 2500)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด ดังนี้  1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ Hotelling’s – T2 (Dependent Sample)  ผลการศึกษาพบว่า


        1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 76.54/74.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุรอบตัวเรา และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ผังกราฟิกประกอบการสอนแบบ GI ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน หลังเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมณัฎฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2554). “การบูรณาการวิธีการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนร่วมกัน” [ออนไลน์]. ได้จาก www.ejournal.su.ac.th/upload/261.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2558].

จุฑารัตน์ ศรีสารคาม. (2553). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบ่อน้อยหนองงัวสว่างวิทย์ โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556). หน้าแทรก 1.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

___________. (2553). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

___________. (2555). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2554). กลุ่มสัมพันธ์ เพื่อการทำงานและจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : บิซินแอดเวอร์ไทซิ่ง.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นดิ้ง.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธินี ไชยพิมพ์. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคกลุ่มสืบค้น. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ลักขณา อันทะปัญญา. (2556). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizer Technique). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธีสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2556). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

อุมาภรณ์ ไชยเจริญ. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การสอบรูปแบบซิปปา ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม และเทคนิคการใช้ผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Antonine Kristen Alana. (2013). The Effect of Graphic Organizers on Science Education : Human Body Systems. The Graduate Faculty of the student grade 11 in partial fulfillment of the requirements For Master of Natural Science.

Chairunnisa Connie. (2016). The Implementation of Group Investigation (GI) to Enhance Students’ Critical Thinking Skill in Educational program Evaluation Class. Graduate School. Indonesia.

Hawk Parmalee. (2016). Graphic Organizers: Increasing the Achievement of Life Science Students. Middle School Research Selected Studied, 11:1, 16-23, DOI : 10.1080/08851700.1986.11670269.

Joyce, B. and Weil, M. (1986). Model of Teaching (3rd Ed). United State of America: Pracice Hall Intermational.

Sangadji Sopiah. (2016). Implementation of Cooperative Learning with Group Investigation to improve learning Achievement of Vocational School. Students in Indonesia. Faculty of Economics, University of Malang.