การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู ออกแบบขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ และขั้นที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบ ประชากรในการวิจัย เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนในรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 1 หมู่เรียน ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาษาอังกฤษ พลศึกษา การศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษและคอมพิวเตอร์ การประถมศึกษา สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ รวม 270 คน ตัวอย่างการวิจัย เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 3 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการสะท้อนคิด แบบบันทึก การเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการสะท้อนคิด และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ หลักการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ มี 6 ขั้น ใช้ชื่อว่า “S4CL” ได้แก่ เรียนรู้ตนเอง (Self-learning) ร่วมมือเรียนรู้ (Collaborative Learning) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Collaborative Sharing) ร่วมสรุปองค์ความรู้ (Collaborative Constructing) ร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ (Collaborative Evaluating) และบันทึกผลการเรียนรู้และสะท้อนคิด (Learning Log and Reflective Thinking)
2. การศึกษาผลของรูปแบบ พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการสะท้อนคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมการสะท้อนคิดจากการสังเกต 3 ระยะ มีแนวโน้มสูงขึ้น นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) ผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึก การเรียนรู้ พบว่า การเรียนรู้โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาการสะท้อนคิดของนักศึกษาได้ดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. (หลักสูตรห้าปี). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2544). การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด: การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 35-48.
เชษฐา แก้วพรหม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 24(2), 12-20.
ประวิต เอราววรรณ์. (2558). ระบบการผลิตครูโดยใช้โรงเรียนสุขภาวะเป็นฐาน. วารสารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 1 (1): 2-6.
ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์. (2555). ความสำคัญของการสะท้อนคิด. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://app2.pnc.ac.th/km/?p=963 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 มีนาคม 2560].
ลำเจียก กำธร, ฐิณัฐตา ศุภศรี และฐาปนี อัครสุวรรณกุล. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (1) : 15-27.
วิเชียร ไชยบัง. (2558). จิตศึกษากับการพัฒนาปัญญาภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2.บุรีรัมย์ : สำนักพิมพ์เรียนนอกกะลา.
ศิราณี เก็จกรแก้ว. (2552). การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยวิธีการส่งเสริมการสะท้อนคิด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 3(3): 10-17
ศิรินทิพย์ รักษาสัตย์, กิ่งฟ้า สินธุวงษ์ และปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2549). “กระบวนการสะท้อนผลสำหรับการฝึกงานครูในสถานศึกษา” การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู III. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
สุพรรณิการ์ ชนะนิล. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิด โดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์. [ออนไลน์]. ได้จาก : https://rerujournal.reru.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/OK-26-A5.pdf [สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม 2560].
สัจธรรม พรทวีกุล. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนการคิดไตร่ตรองของนักศึกษาครู. รมยสาร. 12 (1) : 57-67.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษา : สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิค
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Baldwin, J. and H. Williams. (1988). Active learning: a trainer’s guide. Oxford: Blackwell
Barber, Michael. (2009). The Challenge of Achieving World Class Performance: Education in the 21 st Century. Minneapolis : n.p.
Bonwell, C.C., J.A. Eison. (1991). “Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.” ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.
Brookfield, S.D. (1995). Becoming a Critically Reflective Teacher. Jossey-Bass, San Francisco.
Demissie, F. (2015). Promoting Student Teachers' Reflective Thinking Through a Philosophical Community of Enquiry Approach. Australian Journal of Teacher Education, 40(12).
Dewey, G., R. Jucker, and S. Martin. (2005). Sustainable development in higher education: current practice and future developments. A report for the Higher Education
Academy. [Online]. Available from: www.heacademy.ac.uk/assets/ York/documents/
ourwork/tla/sustainability
Dewey, J.. (1933). How we think: a restatement of the relation of reflective thinking and the educational process. New York: D.C Heath.
Farrell, T.S.C. (2001). Tailoring reflection to individual needs : a TESOL case study in Journal of Education for Teaching, (27) : 23-28.
Garmston, R. ; Linda,C. ;& Whitaker, J. (1993). “Reflections on Cognitive Coaching”, Educational Leadership. 51 (2) : 57–61.
Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching learning methods. Oxford: Oxford Brookes University.
Joyce, B. and Weil, M. (2010). Model of Teaching. United States of America Prenice Hall International.
Kember et al. (2000). “Development of a questionnaire to measure the level of reflective thinking”, Assessment & Evaluation in Higher Education, 25(A), pp. 381-395.
Kolb, D. (1984). Experiential learning. London: Prentice Hall
Kruse, K. (2009). Introduction to Instructional Design and the ADDIE model. [Online]. Available from: www.e-learningguru.com/article/art2_1htm.
Lilia & et al. (2010). Guiding student teachers to be reflective. Procedia Social and Behavioral Sciences. 18 (2011). 544–550
Mezirow and Associates. (1990). Fostering critical reflection in adulthood. San Francisco: Jossey-Bass.
Schon, D. (1987). Educating the reflective practitioner : toward a new design for teaching and learning in the profession. San Francisco : Jossey-Bass.
Taggart, G.L. (2005). Becoming reflective teacher. [Online]. Available from: www.sagepub.com/upm-data/6681taggartch1.pdf.