การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นันท์นภัส สมหาญ
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของ ตัวบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ในเขตภาคะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียนสังกัดการศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ จำนวน 408 คน จาก 8 จังหวัด โดยใช้วิธีการวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มสองชั้นตอน (two – stage cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เป็นแบบสอบถามปลายปิดเพื่อเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 54 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.56 ถึง 0.92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)


              ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


      1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน รวมตัวบ่งชี้หลัก 10 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 54 ตัว จำแนกเป็นด้านสมรรถนะหลัก ตัวบ่งชี้หลัก 5 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 20 ตัว ด้านสมรรถนะตามสายงาน ตัวบ่งชี้หลัก 2 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 13 ตัว สมรรถนะส่วนบุคคล ตัวบ่งชี้หลัก 3 ตัว ตัวบ่งชี้ย่อย 21 ตัว


      2. ผลการวิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความสอดคล้องและกลมกลื่นของโมเดลโครงสร้างตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โมเดลเชิงโครงสร้างมีความสอดคล้องและกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดในการบ่งชี้สมรรถนะในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน ได้แก่ ด้านสมรรถนะตามสายงาน ด้านสมรรถนะส่วนบุคคล และด้านสมรรถนะหลัก มีค่าน้ำหนัก 0.965, 0.831 และ 0.615 ตามลำดับ มีดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 0.639 ความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.8874 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 3 ค่า CFI = 1.000 ค่า TLI = 1.011 ค่า SRMR = 0.005 ค่า RMSEA = 0.000 แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2553). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน: สมรรถนะหลัก (Core Competency). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

จักรกฤษณ์ สนอ่อง. (2555). คู่มือการปฏิบัติ งานธุรการ (ปรับปรุง พ.ศ. 2555). สำนักงานสภามหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณรงวิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ดนัย เทียนพุฒ และคณะ. (2541). ทิศทางและบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลในทศวรรษหน้า (ปี พ.ศ.2550). กรุงเทพฯ : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชู แก้ชมพู. (2539). การบริหารงานธุรการ การเงิน และพัสดุ. พระนครศรีอยุธยา : สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ประดิษฐ์ ฮวบเจริญ. (2545). สอบเลื่อนตำแหน่งผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). การพัฒนาระบบสมรรถนะ. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=258&Itemid=252 [สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2558].

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/uploads/File/competency.pdf [สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2558].

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2552). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรงานธุรการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ริมปิงการพิมพ์.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2547). Competency เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้, โปรดักทิวิตี้ เวิลด์, 9(53), 44-51.

Linn H.H.. (1956). School business Administration. New York: The Ronald Press.