ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของ กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1.เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3.เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังกับความพึงพอใจผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุน พนักงานสายปฏิบัติการ และลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ที่ระดับนัยสำคัญ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคาดหวังของผู้ใช้บริการกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านขั้นตอนในการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านระยะ เวลาในการให้บริการ และด้านการติดต่อสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับความคาดหวังมาก และด้านที่มีระดับความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม
2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านขั้นตอนในการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านระยะ เวลาในการให้บริการ และด้านการติดต่อสื่อสาร ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม
3. การวิเคราะห์เปรียบเทียบความคาดหวังกับความพึงพอใจผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของกองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม ความคาดหวังกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในส่วนของด้านขั้นตอนในการให้บริการ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ด้านระยะเวลาในการให้บริการ และด้านการติดต่อสื่อสาร ความคาดหวังกับความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวทางเดียวหรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กองแผน สำนักงานอธิการบดี. (2560). รายงานการวิจัยความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ที่มีต่อคุณภาพของบัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ รุ่นปีการศึกษา 2558 – 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ. (2560). เกี่ยวกับเรา. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://webresearch.msu.ac.th/?page_id=25 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2560].
ปัณณวัชร์ พัชราวลัย. (2559). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ และการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารเฉพาะกิจที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้บริการของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รมิดา คงเขตวณิช. (2558). รายงานผลการวิจัยการศึกษาผลการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาการบัญชีการเงินของมหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รัตนา สุขะนินทร์. (2547). ความคาดหวังและการรับรู้ที่มีผลต่อความพึงพอใจในบริการล้านช้างรีสอร์ทของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันและยุโรป. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์.
วงเดือน เจริญ. (2554). ความพึงพอใจและความหวังของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการสารสนเทศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. INFORMATION อินฟอร์เมชั่น, 18(1), 28-38.
สมิต สัชฌุกร. (2548). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สัจจา โสภา. (2556). ความคาดหวังและความพึงพอใจนักเรียนต่อการบริการที่ศูนย์เตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์. การศึกษาอิสระปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2558). ความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ 2558. พิษณุโลก: สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อัญจณา วัจนะสวัสดิ์. (2544). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของกองบัตร โดยสารเครื่องบิน สาขาสำนักงานใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
Burr, R. K. (1981). Job satisfaction determinant for selected administrators in Florida’s community colleges and universities: an application of Herzberg’s motivationhygiene theory. Dissertation Abstracts International, 41(9), 3794-A.
Clements, E. (1983). A study of the relationship between intrinsic and extrinsic variables and job satisfaction among student personnel workers in community colleges. Dissertation Abstracts International, 43(8), 2567-A.