การพัฒนาโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนใช้โปรแกรม (pre-test) หลังใช้โปรแกรม (post-test) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ (follow) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบประเมินโปรแกรม และ 3) แบบวัดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเอฟสำหรับทดสอบสมมติฐานของการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one–way repeated measure ANOVA F-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการควบคุมตนเองเพื่อเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) พฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังใช้โปรแกรม (post-test) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 สัปดาห์ (follow) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม (pre-test) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤษณีย์ อุทุมพร. (2553). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://pongsawadi.ac.th/wp-content/uploads/2011/06/no-06.pdf [สืบค้นเมื่อ วันที่ 18 สิงหาคม 2561].
จารุวรรณ ภัทรจารินกุล. (2551). ผลของการใช้เทคนิคการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนออทิสติกที่เรียนร่วมในโรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่). สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดารกา วรรณวนิช. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศษ361: ยุทธศาสตร์การสอน (Teaching Strategies). กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทัศไนยวรรณ จินตสุธานนท์. (2546). ผลการใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2545). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วราภรณ์ โพธิ์ศรีประเสริฐ. (2545). การพัฒนาโปรแกรมการปรับปรุงการพูดสำหรับครูปฐมวัยโดยใช้เทคนิคการละคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2530). กระบวนการสอนจริยศึกษา. เอกสารคำสอนวิชาพฤติกรรมการสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประถมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ไม่ได้ตีพิมพ์).
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี ประไพเมือง. (2557). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมด้วยเทคนิคการควบคุมตนเองเพื่อส่งเสริมเจตคติทางลบต่อความก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนางิ้วนาโพธิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Best, John W. (1997). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs and New Jersey: Prentice-Hall.