การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์

Main Article Content

กัญญารัตน์ โคจร
กันยารัตน์ สอนสุภาพ
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาในการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียน โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์ 2) เพื่อศึกษาระดับการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู และนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์ ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น  90 คน โดยแบ่งเป็นครูและผู้บริหารจำนวน 8 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 51 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 31 คน ที่ได้มาโดยการใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1) สำหรับกลุ่มครูและผู้บริหาร และ 2) สำหรับกลุ่มนักเรียน 2) แบบวัดการคิดขั้นสูง ทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


            1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนรับรู้และตระหนักถึงสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียนเป็นอย่างดี ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากด้านงบประมาณ ด้านหลักสูตรที่เนื้อหาค่อนข้างมาก กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่มีจำนวนมาก การจัดการเรียนการสอนที่เน้นบรรยายขาดการส่งเสริมการคิด ความพร้อมของนักเรียนที่ไม่เพียงพอ


             2. การคิดขั้นสูงของนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยพบว่า มีเพียงการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ โดยเมื่อพิจารณาการคิดแต่ละด้าน พบว่า


                การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนทั้ง 2 ระดับอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.43 และ 3.85 ตามลำดับ โดยด้านการวิเคราะห์หลักการมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด


                การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนทั้ง 2 ระดับอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 7.30 และ 6.75 ตามลำดับ โดยด้านการประเมินข้อโต้แย้งมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด


                การคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 10.00 ขณะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 12.37 โดยเมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่าในด้านการตรวจสอบผลลัพธ์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด


                การคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีคะแนนเฉลี่ย 14.30 ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีคะแนนเฉลี่ย 13.58 โดยด้านการคิดริเริ่มนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ปรเมศร์ วงศ์ชาชม และกัญญารัตน์ โคจร. (2559). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับโครงงานเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(พิเศษ): 463-474.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ หจก.9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

รัฐพงษ์ มะพันธ์ และกัญญารัตน์ โคจร. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10 (พิเศษ): 689-703.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. (2559). รายงานประจำปีของสถานศึกษา. โรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์: ร้อยเอ็ด.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือและ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 = 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2): 23-37.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). สรุปข้อมูลเบื้องต้น PISA 2015, กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. (2555). พัฒนาทักษะการคิด ตามแนวปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภพงษ์ วงศ์สมิตกุล. (2548). การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดหอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. โครงการจากหิ้งสู่ห้องเพื่อขยายผลสู่ห้องเรียน. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลกพ.ศ.2559/2560.กรุงเทพฯ: บริษัทหวานกราฟิก จำกัด.

เอื้อมพร หลินเจริญและคณะ. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Guilford, J.P. (1991). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.

Wongchachom, P. & Cojorn, K. (2016). A Survey of Critical Thinking Skill of Matthayomsueksa 5 Students in Thailand. In IAB Chair: Professor Stuart D.B. Picken (Eds.), Proceeding of the Asian Conference on Education & International Development 2016 (pp. 227-236). Art Center Kobe, Japan: The International Academic Forum.

Weir, J.J. (1974). Problem Solving Every body’s Problem. The Science Teacher. 4 (April), 16-18.