การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

โชติกา จันทะวัน
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) หาคุณภาพของแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติ (norms) ของแบบทดสอบที่ได้จากการทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 650 คน จากโรงเรียน 10 แห่ง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multI – stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 75 ข้อ เพื่อคัดเลือกไว้ใช้จริงเพียง 45 ข้อ วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ โดยการหาค่าความยากและค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (reliability) และสร้างเกณฑ์ปกติ (norms) ในรูปคะแนนที - ปกติ ซึ่งทำการขยายคะแนน T โดยอาศัยสมการพยากรณ์


            ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


           1. การสร้างแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ 75 ข้อ ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม 3 ด้าน ๆ ละ 25 ข้อ ได้แก่ ด้านการจัดประเภท ด้านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และด้านการสังเคราะห์ความสัมพันธ์


            2. การทดสอบ 3 ครั้ง ผลเป็นดังนี้


                    2.1 การทดสอบครั้งที่ 1 พบว่า ข้อสอบจำนวน 75 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ ตั้งแต่ 0.18 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ -0.03 ถึง 0.66 มีข้อสอบเข้าเกณฑ์ จำนวน 62 ข้อ


                    2.2 การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ข้อสอบจำนวน 60 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ ตั้งแต่ 0.16 ถึง 0.64 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.11 ถึง 0.84 มีข้อสอบเข้าเกณฑ์ จำนวน 55 ข้อ


                    2.3 ผลการทดสอบครั้งที่ 3 พบว่า แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 45 ข้อ ประกอบด้วยพฤติกรรมที่ต้องทดสอบ 3 ด้าน ๆ ละ 15 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.65 แสดงว่า มีค่าตามเกณฑ์ทุกข้อ และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87


           3. เกณฑ์ปกติ (norms) ของแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ทั้งฉบับ จำนวน 45 ข้อ โดยการแปลงคะแนนดิบเป็นคะแนนที - ปกติ พบว่า คะแนนดิบของแบบทดสอบ มีค่าตั้งแต่ 7 ถึง 42 คะแนน และในรูปของคะแนนที - ปกติ มีค่าตั้งแต่ T13 ถึง T68 และทำการขยายคะแนนที - ปกติ เพื่อให้ครอบคลุมคะแนนดิบทุกคะแนน โดยใช้สมการเส้นตรง Tc = 2.08 + 1.56X ผลการขยาย T ปกติ ส่วนแรกขยายจาก 43 - 45 คะแนน ได้ Tc ตั้งแต่ T70  ถึง T72 และส่วนที่สองขยายจาก 1 - 6 คะแนน ได้ Tc ตั้งแต่ T4 ถึง T11


            สรุปได้ว่า จากคะแนนดิบตั้งแต่ 1 - 45 คะแนน แปลงเป็นคะแนนที - ปกติ ได้ตั้งแต่ Tถึง T72

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชวาล แพรัตกุล. (2520). เทคนิคการเขียนข้อสอบ. กรุงเทพฯ : โรงเรียนแพรัตอนุสรณ์.

ไตรรงค์ เจนการ. (2530). การศึกษาคุณภาพแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

วิสุดา รักชู. (2547). การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.). (2555). ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนโอเนต ระดับชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx 10 กันยายน 2556.

สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพิ่มเติมคณิตศาสตร์ เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550) ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551) เทคนิคการสอนและรูปแบบการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบวิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2549). รายงานการประเมินผลการเรียนรู้จาก PISA 2003. กรุงเทพฯ : เซเว่นพริ๊นติ้ง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพทางการศึกษา. (2547). มาตรฐานการศึกษา ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ การพิจารณาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

May and M. Eileen. (1975). “An Investigation of the Relationship of Moral and Cognitive Modes of Thought in Second and fifth Grade Children”, Dissertation Abstracts International, 36(1) : 192-A ; July.