ผลการใช้โปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น

Main Article Content

อาภรณ์ ดวงรัตน์
ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้นจำนวน 6 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)ซึ่งได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่าเป็นเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นและได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองในการสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย แบบแผนการวิจัย คือ One-phase Embedded Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น 2) แบบทดสอบความตั้งใจจดจ่อ (Attention Network Test : ANT ) 3) แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form) สำหรับครูและผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed ranks test


           ผลการวิจัยพบว่า


           1) เด็กสมาธิสั้นที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น มีความตั้งใจจดจ่อ ในด้านการบริหารความตั้งใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


           2) เด็กสมาธิสั้นที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


           3) เด็กสมาธิสั้นที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น มีพฤติกรรมการแสดงออกภาวะสมาธิสั้นภายหลังการทดลองด้านสมาธิดีขึ้น พฤติกรรมด้านซนอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่นและด้านดื้อ/ต่อต้านลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บทความนี้ยังได้นำเสนอข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ การวิจัยครั้งต่อไป และอภิปรายผลที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมการฝึกสติไปใช้เพื่อให้มีความตั้งใจจดจ่อในการเรียนและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นให้มีสมาธิดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดอื่นๆและลดอาการข้างเคียงในการใช้ยาลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร และคณะ. (2557). ศึกษาคุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson,
Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP-IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/ สมาธิสั้น (SDQ-ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคม
จิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(2), 97-110.
ปรัชญา แก้วแก่น.(2555). กระบวนการและการประยุกต์สำหรับการวิจัยทางวิทยาการปัญญา. วารสารวิทยการ
วิจัยและวิทยาการปัญญา,10(1),น.1-10.
รินสุข องอาจสกุลมั่น. (2551). การใช้ยา Methylphenidate รักษาโรคสมาธิสั้น ในโรงพยาบาล
ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์: ศึกษาผล ผลข้างเคียงและขนาดของยา. กรุงเทพฯ.
วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์. (2556). การประเมินความตั้งใจจดจ่อโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและการประยุกต์ใช้ในเด็กที่เป็นโรคซนสมาธิสั้น. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์
โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรวรรณ จันทรมณี. (2557). ผลของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติร่วมกับการฝึกสร้างจินตนาการต่อระดับ
สมาธิของเด็กที่มีความเสี่ยงสมาธิสั้น. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(1), 56-70.

Jin Fan, Mc Candliss, Sommer, Raz, & Posner. (2002). Testing the Efficiency and Independence
of Attentional Networks. Journal of Cognitive Neuroscience 14(3):340-7.
Johnson KA, Robertson IH, Barry E, Mulligan A, Daibhis A, Daly M, Watchorn A, Gill
M, Bellgrove MA. (2008). Impaired conflict resolution and alerting in children with
ADHD: evidence from the Attention Network Task (ANT). J Child Psychol
Psychiatry. 2008 Dec;49 (12):1339-47.
Creswell, J. D., B. M. Way, et al. (2007). "Neural correlates of dispositional mindfulness
During affect labeling." Psychosomatic Medicine 69(6): 560-565.
Rothbart, M. K., Ellis, L., Rueda, M. R., & Posner, M. I. (2003).Developing mechanisms of
temperamental self regulation. Journal of Personality, 71(6), 1113–1143.
Rueda,M.R.,Fan,J.,McCandliss,B.D.,Halparin,J.D.,Gruber,D.B.,Lercari,L.P.&Posner,M.I.(2004).
Development of attention networks in childhood.Neuropsychologia. 42,1029-1040.
Zylowska, L., Ackerman, D. L., Yang, M., Futrell, J., Horton, N. L., Hale, T. S., Pataki, C.,Smalley,
S. L. (2007). Mindfulness meditation training in adults and adolescents with Attention
Deficit Hyperactivity Disorder-A feasibility study. Attention Disorders,11(6), 737-746.