การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25

Main Article Content

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีความมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 2. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 3. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 การวิจัยแบ่งออก เป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มงานบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จำนวน 260 คน จาก 84 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และศึกษาการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3 โรงเรียนๆ ละ 4 คน รวม 12 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกตการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบฯ สถิติทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีประเมินความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จำนวน 5 องค์ประกอบ 27 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการ มี 6 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามี 5 ตัวบ่งชี้องค์ประกอบที่ 4 การนิเทศและประเมินผลมี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนามี 5 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.31)

  2.  สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 โดยอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.41) และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 โดยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.39) และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมาก (PNI =1.43)

  3.  รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 แบ่งเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 สภาพแวดล้อมภายนอก องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยป้อนเข้า องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ องค์ประกอบที่ 4 ผลผลิต /ผลลัพธ์ องค์ประกอบที่ 5 ข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 การประเมินผล ส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 มีความเหมาะสมและเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.21)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จำรัส อินทลาภาพร และคณะ. (2558). “การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา.” Veridian E-Journal Silpakorn University,
ดิเรก วรรณเศียร. (2545). การพัฒนาแบบจำลองแบบสมบูรณ์ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการบริหารศึกษา,
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2547). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา: ทฤษฎีระบบ. กรุงเทพโรงพิมพ์ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร Executive Journal.
พูลสุข หิงคานนท. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2523). “ปรัชญาและพัฒนาการบริหาร” ในหลักและระบบการบริหารการศึกษา หนวย 1-5, เลม 1 หนา 1-24. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). STEM Education Thailand. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.stemedthailand.org/ (2559, 30 กรกฎาคม).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2559). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ : องค์การค้า ของ สกสค.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (2560). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.secondary25.go.th
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 7 กันยายน 2560].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : พริกหวาน กราฟฟิก.
สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของสถานศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 มกราคม- เมษายน 2560.
Hoy, W. K. and Miskel, C. G. ( 2012). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. (6th ed.). New York: McGraw–Hill.
Kast, F. E. and Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and Management: A Systems and Contingency Approach. (3 rd ed.).
New York: McGraw–Hill.
Lunenburg.F. C. and Ornstein, A. C. (2008). Educational Administration: Concepts and Practices. (5th ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
Robbins, S. and Mukerji. (1990). Organization Theory: Structure, Design, and Applications. (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
President’s Council of Advisors on Science and Technology. (2010). Report to the President “Prepare and Inspire: K-12 Education in Science,
Technology, Engineering, and Math (STEM) for America's Future. [online]. From : http://stelar.edc.org publications.