ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนิคมวิทยา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จำนวน 50 คน ที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดช่วงการทดลอง โดยใช้การจัดหน่วยตัวอย่างเข้ากลุ่มแบบสุ่มและการจับคู่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความจำใช้งาน จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ดำเนินการสัปดาห์ละ 3 วัน รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติจากทางโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความจำใช้งานด้วยเครื่องมือวัดความจำใช้งาน one back task ในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
- นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานมีคะแนนความจำใช้งานด้านความถูกต้องหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่ต่างกัน
- นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความจำใช้งานมีคะแนนความจำใช้งานด้านความถูกต้อง ด้านความผิดพลาด และด้านความไวในการตอบสนองหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมแสริมสร้างความจำใช้งานในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถพัฒนาความจำใช้งานด้านความถูกต้องในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
Alloway, T. P., & Gathercole, S. E. (2006). How does working memory work in the classroom?. Educational Research and Reviews,1, 134–139.
Alloway, T. P., Gathercole, S. E., Kirkwood, H. J., & Elli-ott, J. E. (2008). Evaluating the validity of the Auto-mated Working Memory Assessment. Educational Psychology,7, 725–734.
Alloway, T. P. & Alloway, R. G. (2012). Can interactive working memory training improving learning?. Journal of interactive Learning Research, 23: 1-11.
Baddeley, A. D. (2007). Working memory, thought and action. Oxford: Oxford University Press.
Baddeley, A. D. (2012). Working memory: theories, models, and controversies. Annu Rev Psychol, 63,1-29. doi: 10.1146/annurev-psych-120710-100422
Buonomano,D.V., Merzenich, M.M.,1998. Cortical plasticity: from synapses to maps. Annu. Rev. Neurosci. 21, 149–186
Klingberg, T., Fernell, E., Olesen, P. J., Johnson, M., Gu-stafsson, P., Dahlstrom, K., et al. (2006). Computerized training of working memory in children with ADHD-A randomized, controlled trial. Journal of the American Academy of Child and Adolescent Psychiatry, 44, 177–186.