การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนประจำชั้น จำนวนทั้งสิ้น 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปแกรม 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ และ 25 ตัวชี้วัด คือ 1) การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน มี 5 ตัวชี้วัด 2) ด้านการกำกับดูแลชั้นเรียน มี 7 ตัวชี้วัด 3) ด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา มี 4 ตัวชี้วัด 4) การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกระหว่างครูกับนักเรียน มี 6 ตัวชี้วัด 5) ความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มี 5 ตัวชี้วัด ซึ่งทุกองค์ประกอบและตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
- ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.80) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพที่พึงประสงค์ ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.63) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
- ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสี เขต 7 ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้ ระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและ พระราชบัญญัติการศึกษาภาค
บังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556)โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัดและประเมินผล
ในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2530) การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร
โอเดียนสโตร์.
สันติ บุญภิรมย์. (2557) การบริหารจัดการในห้องเรียน. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สมบัติ ตาปัญญา. (2549) รายงานการสำรวจทัศนคติต่อการสร้างวินัยเชิงบวกและพฤติกรรมในการสร้างวินัย
ของครูต่อนักเรียน. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะข้าราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ :
พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). กฎหมายและหนังสือเวียน ก.ค.ศ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2553. กรงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. (2542). การประกันคุณภาพการศึกษากรมสามัญศึกษาเล่ม 1 ระบบการ
ประกันคุณภาพ การศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา.กรุงเทพมหานคร.หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมสามัญศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.