การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ด้านการรู้คิด ด้านเจตคติ และด้านพฤติกรรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยที่มีต่อการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 77 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ จำนวน 4 หน่วย 29 ชั่วโมง แบบวัดระดับการมีจิตสาธารณะ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมี      จิตสาธารณะ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.67) 2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ด้านการรู้คิด ด้านเจตคติ และด้านพฤติกรรม พบดังนี้ 2.1) ระดับจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ ด้านการรู้คิด ด้านเจตคติ และด้านพฤติกรรม ก่อนและหลังการทดลองโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ผลการประเมินโครงการ   จิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย ตามกระบวนการลงมือปฏิบัติ ทุกโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป 2.3) ผลการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการปฏิบัติโครงการจิตสาธารณะของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยจากการประเมินตามสภาพจริง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด             (gif.latex?\bar{x} =4.53) และ 3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. รัฐสภาสาร. 61(1):
หน้า 77-79
ทิศนา แขมมณี. (2558). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ เขียนงาม และสมพร เมธีวัฒนากุล. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะของนักศึกษา
มหาวิทยาลัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 5(1) มกราคม-มิถุนายน,. หน้า 101-108


เบญจวรรณ รอดแก้ว. (2553). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จากการ
ทำโครงการกิจกรรมพัฒนาสังคม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(3) มกราคม-
มิถุนายน, หน้า 79-91
วัลลยา ธรรมอภิบาล. (2555). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
สาขาวิชาภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. (2559). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. อัดสำเนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). กรุงเทพฯ :
บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี :
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
เอนก กาญจนโกมล. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจและความสำนึกด้านความซื่อสัตย์
สุจริต ด้านวินัย และด้านมีจิตสาธารณะ ด้วยนิทานพื้นบ้านอุตรดิตถ์ โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of educational objective book 1 : cognitive domain. London :
Longman.
Shinichi, Shigetomi. (2007). Publicness and Taken-for-granted Knowledge : A Case Study of
Communal Land Formation in Rural Thailand. Dissertation Abstracts International.
42(05) August : p 3217-A.