การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีสไตล์การเรียน ความถนัดทางการเรียนและ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสกลนคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
จึงควรมุ่งเน้นการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของนักเรียนโดยคำนึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนจึงทำให้วิธีการหรือสไตล์การเรียนรู้ของแต่ละคน
แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีสไตล์การเรียน ความถนัดทางการเรียนและภาษาที่ใช้ในชีวิต
ประจำวันแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 364 คน จาก 25 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบวัด
สไตล์การเรียนตามแนวคิดของกราซาร์และไรซ์แมน (Grasha และ Reichman) ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 5 ระดับจำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 4 แบบ คือ แบบแข่งขัน แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งพาและแบบ
อิสระแบบละ 10 ข้อ รวม 40 ข้อ มีค่าอำานาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .20 ถึง .91 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
( α ) เท่ากับ .95 แบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบ่งเป็น 5 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความถนัด
ทางการเรียนตามแนวคิดของเธอร์สโตน (Thurstone) แบ่งออกเป็น 4 ฉบับ คือ ด้านภาษา ด้านจำนวนและ
ตัวเลข ด้านเหตุผลและด้านมิติสัมพันธ์ ฉบับละ 15 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (p) ตั้งแต่ .28 ถึง .74 ค่าอำนาจ
จำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ .22 ถึง .70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ .79, .76, .79 และ .70 ตามลำดับ และ
แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (p) ตั้งแต่
.22 ถึง .79 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ .20 ถึง .71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ .89
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
สามทาง (three-way ANOVA)
การวิจัยปรากฏผลดังนี้
1. การวิเคราะห์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พบว่า
1.1 นักเรียนที่มีสไตล์การเรียนแบบมีส่วนร่วม มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ได้สูงสุด ( X =17.20) ส่วนสไตล์การเรียนแบบแข่งขันมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ต่ำาสุด
( X =16.90)
1.2 นักเรียนที่มีความถนัดทางการเรียนด้านภาษามีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ได้สูงสุด ( X =17.68) ส่วนความถนัดทางการเรียนด้านมิติสัมพันธ์มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ต่ำสุด ( X =16.24)
1.3 นักเรียนที่ใช้ภาษาภูไทในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้
สูงสุด ( X =17.68) ส่วนนักเรียนที่ใช้ภาษาโส้ในชีวิตประจำวันมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
ต่ำาสุด ( X =15.89)
2. นักเรียนที่มีความถนัดทางการเรียนและมีภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกันมีความสามารถ
ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่มีความถนัด
ทางการเรียนด้านภาษา มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีความถนัดทาง
การเรียนด้านมิติสัมพันธ์และนักเรียนที่ใช้ภาษาภูไทและภาษาอีสานในชีวิตประจำาวัน มีความสามารถในการแก้
โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้ภาษาโส้ในชีวิตประจำวัน ส่วนนักเรียนที่มีสไตล์การเรียนแตกต่างกัน
มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกันและไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสไตล์การเรียน
ความถนัดทางการเรียนและภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยสรุป ความถนัดทางการเรียนและภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน ส่งผลให้นักเรียนมีความ
สามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ต้องเข้าใจ ตระหนักและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคกัน
เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถมากที่สุดและมีประสิทธิภาพ
สูงสุดต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น