การสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

เบญจลักษณ์ กุลวุฒิ
สมนึก ภัททิยธนี
วิลัน จุมปาแฝด

บทคัดย่อ

การวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด
ให้นักเรียนในแต่ละชั้นต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ควบคู่ไปกับการประเมินด้านอื่น ๆ
สถานศึกษาจึงต้องกำหนดให้มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
เพียงพอ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 410 คน จาก 18 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการ
สุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้มี 2 ชนิด ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ โดยสร้างเป็นแบบสถานการณ์สมมติ 3 ตัวเลือก 8 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ รวม 40 ข้อและแบบสังเกต
พฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ด้าน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 8 ด้าน ด้านละ 5
ข้อ รวม 40 ข้อ ทำการทดลอง 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อและครั้งที่ 3
เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) การสร้างเกณฑ์ปกติ
ในรูปคะแนนที-ปกติและขยายคะแนน T โดยอาศัยสมการพยากรณ์


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การทดลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ค่าอำนาจจำแนก (t) ของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง
8 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าตั้งแต่ 1.13-5.13 และตั้งแต่ 1.68-6.04 ตามลำดับ
2. การทดลองครั้งที่ 3 ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและคะแนนเกณฑ์ปกติ เป็นดังนี้
2.1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ด้าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแต่ละด้านมี
ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ .76, .75, .76, .75, .74, .75, .77 และ .78 ตามลำดับ
2.2 ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใช้เทคนิคกลุ่มรู้ชัด
(Known Group Technique) ทดสอบใช้ t-test แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละด้านมีความเที่ยงตรง
เชิงโครงสร้าง มีค่าต่ำาสุด 13.78 และค่าสูงสุด 23.40 รวมทั้งฉบับ มีค่า 52.97 ซึ่งค่าที่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 แสดงว่าแบบวัดมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.3 คะแนนเกณฑ์ปกติของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 มีค่า T ปกติ
ตั้งแต่ T60-T42 ด้านที่ 2 มีค่า T ปกติตั้งแต่ T68-T15 ด้านที่ 3 มีค่า T ปกติตั้งแต่ T62-T15 ด้านที่ 4 มีค่า T
ปกติตั้งแต่ T64-T24 ด้านที่ 5 มีค่าทีปกติตั้งแต่ T64-T28 ด้านที่ 6 มีค่า T ปกติตั้งแต่ T64-T27 ด้านที่ 7
มีค่า T ปกติตั้งแต่ T70-T22 ด้านที่ 8 มีค่า T ปกติตั้งแต่ T61-T24
โดยสรุป แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำาไปใช้ประเมินและใช้เป็นแนวทางในการสร้าง
เครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย