พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในกลุ่มนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

อุษาวดี โคตรคำภา
ประวิต เอราวรรณ์
ไพบูลย์ บุญไชย

Abstract

พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงโดยการตีกันเกิดขึ้นบ่อยครั้งในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาปรากฏการณ์
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นปัญหาของวัยรุ่นที่เคยพบเฉพาะในวัยรุ่นชายแต่ปัจจุบันขยายตัวเข้าไปในวัยรุ่นหญิง
ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลลักษณะด้านครอบครัวและลักษณะด้าน
สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงและศึกษาพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของ
นักเรียนหญิง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 9 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวม
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่เป็นทางการ ควบคู่กับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบ
ไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและนำาเสนอผลการวิจัยโดยการบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของนักเรียน
หญิง ได้แก่ การเป็นลูกสาวคนเดียวและลูกสาวคนเล็ก ผู้ปกครองรักและตามใจ กล้าแสดงออกและเชื่อมั่นใน
ตัวเอง มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงเพราะไม่พอใจผู้อื่นด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น การแต่งตัว พูดกวน ยุ่งเกี่ยว
กับแฟน มองหน้าแบบหาเรื่อง ทำตัวน่าหมั่นไส้ ลักษณะด้านครอบครัว ได้แก่ ผู้ปกครองทะเลาะตบตีกันเป็น
ประจำาจนเห็นเป็นเรื่องปกติ มีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงเพราะถูกแรงกดดันจากบิดาที่มักนำไปเปรียบเทียบ
กับพี่และลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนและโรงเรียนมีความเห็นว่าพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของ
นักเรียนเป็นพฤติกรรมปกติที่มีอยู่ในทุกชุมชนไม่มีการจัดการแก้ปัญหาที่เด็ดขาด พฤติกรรมที่ทำาก่อนตีกันคือ
การแต่งกายอย่างรัดกุม ตั้งกฎกติกา เช่น ตีกันตัวต่อตัว ห้ามรุมตี ห้ามถ่ายภาพ ห้ามใช้อาวุธส่วนพฤติกรรม
ขณะตีกันมีการตบ ข่วน จิกผม กัด ด่าทอด้วยถ้อยคำาที่หยาบคายและมีการปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด
และพฤติกรรมหลังจากการตีกันจะมีการรวมกลุ่มเพื่อสนทนาในเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่มีการแจ้งตำารวจ ไม่บอก
ผู้ปกครองไม่ไปโรงพยาบาลและคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ครอบครัว
ชุมชนควรตระหนักในการดูแลบุตรหลานไม่ปล่อยปละละเลยให้คำาแนะนำาเมื่อพบว่าบุคคลในครอบครัว
ชุมชนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คนในครอบครัวควรมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อไม่ให้เด็กและเยาวชน
ลอกเลียนแบบส่วนตัวนักเรียนเองก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง

Article Details

Section
Research Article