ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อวิชาเกษตรของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

สมคิด จุปะมะตัง
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
ไพศาล วรคำา

บทคัดย่อ

เจตคติต่อการเรียน มีส่วนช่วยให้นักเรียนเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากการเรียนทำให้เกิด
ความสนใจต่อการเรียนเพิ่มขึ้น ความมุ่งหมายการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตคติต่อวิชาเกษตร
ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์เจตคติต่อการเรียนวิชาเกษตรของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2
สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำานวน 428 คน
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2551 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบ่งเป็น
2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบสอบถามสภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยว
กับปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตคติต่อวิชาเกษตร มีลักษณะเป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำานวน 6 ชุด ชุดที่ 1
แบบวัดเจตคติ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .40 ถึง .67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 ชุดที่ 2
แบบวัดประสิทธิภาพการสอนของครู มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .40 ถึง .65 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
เท่ากับ .84 ชุดที่ 3 แบบวัดบุคลิกภาพของครูเกษตร มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .40 ถึง .59 และมี
ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 ชุดที่ 4 แบบวัดบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน มีค่าอำานาจจำาแนก
รายข้อตั้งแต่ .32 ถึง .63 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 ชุดที่ 5 แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .34 ถึง .67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .86 ชุดที่ 6 แบบวัความขยัน
หมั่นเพียรมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .44 ถึง .66 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วย
วิธีเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการเรียนเกษตรของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ประสิทธิภาพการสอนของครู (EFF)
บุคลิกภาพของครูเกษตร (PER) บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน (ENV) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (MOTT)
ความขยันหมั่นเพียร (DILI)
2. ได้สมการพยากรณ์เจตคติต่อวิชาเกษตรของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y/ = .365 + .455DILI + .224PER + .230MOTT
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z/Y = .475ZDILI + .209ZPER + .228ZMOTT


โดยสรุปผลจากการวิจัยครั้งนี้ ความขยันหมั่นเพียร บุคลิกภาพของครูเกษตรและแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์
เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจคติต่อวิชาเกษตรของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2
ครูผู้สอนจึงควรส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนและวางแผนในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นซึ่ง
จะเป็นประโยชน์ต่อครูและนักเรียนเองในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย