The Factors Related to Teaching Effciency of Class interval 3 Mathematics Teachers in Si Sa Ket
Main Article Content
บทคัดย่อ
เนื่องจากประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความสำคัญต่อการจัดการเรียน
การสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่
สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ
2) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2550 จำานวนทั้งสิ้น 214 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งพื้นที่ (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของ
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 120 ข้อ
มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .22 ถึง .70 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และแบบสอบถามประสิทธิภาพ
การสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .49 ถึง .83
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเป็นขั้นตอน
(Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ปัจจัยด้านครูที่สัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ในระดับน้อยถึงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 8 ด้าน เรียงจาก
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy) จากมากไปหาน้อย ดังต่อไปนี้ 1) บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
(.862) 2) การวัดและประเมินผล (.801) 3) ความสามารถด้านวิชาการ (.785) 4) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับ
นักเรียน (.537) 5) เจตคติของครูต่ออาชีพครู (.534) 6) บุคลิกภาพของครู (.518) 7) เจตคติของครูต่อนักเรียน
(.452) และ 8) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (.357)
2. ปัจจัยด้านครูที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 3 ได้อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (X8)
การวัดและประเมินผล (X7) ความสามารถด้านวิชาการ (X4) และบุคลิกภาพของครู (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .895 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ที่ปรับแก้ (R2adj) เท่ากับ .797 และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y/ = .495 X8 + .245 X7 + .196 X6 + .092 X1
โดยสรุป ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์มี 4 ปัจจัย คือ 1) บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) การวัดและประเมินผล และ
3) ความสามารถด้านวิชาการ ซึ่งสมการนี้สามารถใช้เป็นตัวแปรในการพยากรณ์ สมรรถภาพการสอนของครูกลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดังกล่าวได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น