การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ : กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทักษะคณิตศาสตร์มีความสำาคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์
คิดอย่างมีเหตุผล จึงมีการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย การวิจัยปฏิบัติการรูปแบบ
วงจรลำดับเวลาเป็นรูปแบบที่มีขั้นตอนการปฏิบัติ 8 ขั้นตอน มีหลักการสำคัญ คือ หลังจากระบุปัญหาที่ต้องการ
แก้ไขแล้วจะประเมินความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาตามลำาดับเวลาไปที
ละวงรอบ ผู้วิจัยจึงนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1
การวิจัยมีความมุ่งหมายดังนี้ เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์
ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำาดับเวลา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาหนองคายเขต 3 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เด็กปฐมวัย (2) แบบประเมินความต้องการจำเป็นเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
(3) ชุดประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย (4) แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 18 แผน
(5) แบบประเมินวัดความก้าวหน้าทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (6) แบบสัมภาษณ์นักเรียนและ
(7) แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ
ในวงรอบที่ 1 ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการในเรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่ อยู่ในระดับดีถึงดี
มากผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในวงรอบที่ 2 โดยพัฒนาเรื่องการเปรียบ
เทียบและการเรียงลำดับซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
โดยสรุป กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลาสามารถพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ระดับปฐมวัยได้ ซึ่งเป็นแนวทางให้ครูสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลานี้ ไปใช้ใน
การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คำาสำคัญ : นิทานคณิตศาสตร์, ทักษะทางคณิตศาสตร์, เด็กปฐมวัย, วิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น