การศึกษาคุณลักษณะของคะแนนแบบทดสอบปลายเปิดวิชาคณิตศาสตร์เมื่อ จำนวนผู้ตรวจและรูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกัน โดยใช้โมเดล การสรุปอ้างอิงและโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะของคะแนนแบบทดสอบปลายเปิดวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้
โมเดลการสรุปอ้างอิงและโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช ภายใต้เงื่อนไขจำนวนผู้ตรวจต่างกันสามลักษณะ
คือ 2 คน 3 คน และ 4 คน และรูปแบบการตรวจให้คะแนนต่างกันสามลักษณะ คือ รูปแบบที่ 1 ผู้ตรวจตรวจ
ข้อสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคน รูปแบบที่ 2 ผู้ตรวจตรวจข้อสอบทุกข้อของผู้สอบบางคนและรูปแบบที่ 3
ผู้ตรวจตรวจข้อสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน คุณลักษณะของคะแนนพิจารณาจากขนาดขององค์ประกอบ
ความแปรปรวน ค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบทดสอบปลายเปิดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตามหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 12 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดน่าน ปีการศึกษา 2552
จำนวน 180 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. เมื่อวิเคราะห์ด้วยโมเดลการสรุปอ้างอิง พบว่า เมื่อใช้รูปแบบการตรวจให้คะแนนเดียวกัน
ในทุกเงื่อนไขจำนวนผู้ตรวจ ความแปรปรวนขององค์ประกอบเดียวกันมีค่าใกล้เคียงกัน และค่าสัมประสิทธิ์
การสรุปอ้างอิงในรูปแบบการตรวจที่ 2 มีค่าสูงสุด รองลงมาคือรูปแบบการตรวจที่ 1 และรูปแบบการตรวจที่ 3
มีค่าต่ำสุด ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงในรูปแบบการตรวจที่ 1 มีค่าสูงขึ้นเมื่อจำนวนผู้ตรวจเพิ่มขึ้น คะแนนใน
ทุกเงื่อนไขที่ต่างกันมีความเที่ยงตรงตามสภาพสูงและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2. เมื่อวิเคราะห์ด้วยโมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช พบว่า ในทุกเงื่อนไขจำนวนผู้ตรวจและ
รูปแบบการตรวจให้คะแนน ความแปรปรวนของผู้สอบมีค่าสูงที่สุดรองลงมา คือ ความแปรปรวนของข้อสอบ
และความแปรปรวนของผู้ตรวจมีค่าต่ำที่สุดและค่าความเชื่อมั่นแยกส่วนของผู้สอบของรูปแบบการตรวจที่ 1
มีค่าสูงสุดในทุกเงื่อนไขจำนวนผู้ตรวจ ค่าความเชื่อมั่นแยกส่วนของผู้สอบของรูปแบบการตรวจที่ 1 มีค่าสูงขึ้น
เมื่อจำนวนผู้ตรวจเพิ่มขึ้น คะแนนความสามารถในทุกเงื่อนไขที่ต่างกันมีความเที่ยงตรงตามสภาพสูงและ
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิต
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น