การตรวจสอบความแม่นยำของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกันสำาหรับการ ประเมินพัฒนาการความสามารถของผู้สอบในแบบทดสอบผสม ที่มีความยาว ความยากและการให้คะแนน แตกต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความแม่นยำาของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกัน
สำาหรับการประเมินพัฒนาการความสามารถของผู้สอบ ( - ) ด้วยแบบทดสอบผสมที่ประกอบด้วยข้อสอบ
แบบเลือกตอบที่ตรวจให้คะแนนสองค่าและข้อสอบแบบเขียนตอบที่ตรวจให้คะแนนหลายค่า
การศึกษาครั้งนี้ใช้โมเดลโลจิสติกแบบสามพารามิเตอร์ (3PL) จำาลองผลการตอบข้อสอบแบบเลือกตอบ
และใช้โมเดลเจเนอรอลไรส์พาร์เชียลเครดิต (GPCM) จำาลองผลการตอบข้อสอบแบบเขียนตอบของผู้สอบ 1,000
คนที่ทดสอบซ้ำาสองครั้ง ตามตัวแปรอิสระที่ศึกษา 4 ตัว ได้แก่ ระดับพัฒนาการความสามารถ 9 ระดับ ความยาว
ของแบบทดสอบผสม 3 ขนาด ซึ่งกำาหนดจากจำานวนข้อสอบแบบเลือกตอบต่อจำานวนข้อสอบแบบเขียนตอบ
(30 : 10, 24 : 8 และ 15 : 5) ความยากของแบบทดสอบผสมที่ใช้ในการทดสอบครั้งที่หนึ่ง 3 ระดับและการให้
คะแนนของข้อสอบแบบเขียนตอบ 3 รูปแบบ รวมทั้งสิ้น 243 เงื่อนไข (9x3x3x3) การประเมินความแม่นยำ
ของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกันพิจารณาจากค่าความลำาเอียง (BIAS) และ ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ย
ความคลาดเคลื่อนกำาลังสอง (RMSE) ของค่าประมาณของพัฒนาการความสามารถ ( - )
ผลการศึกษา พบว่า
1. ค่าประมาณพารามิเตอร์ความสามารถที่ได้จากวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกันกับ
ความสามารถจริงมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ในทุกเงื่อนไขที่ศึกษา เมื่อส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับพัฒนาการความสามารถของผู้สอบเป็น
0.80 และ 1.00 ความแม่นยำาของวิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกัน มีค่าสูงกว่า เมื่อส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเป็น 1.2 อย่างไม่มีนัยสำาคัญที่ระดับ .05 พบว่า
2.1 เมื่อความยากและการให้คะแนนคงที่ แบบทดสอบผสมขนาด 24:8 มีความแม่นยำาสูงกว่า
แบบทดสอบผสมขนาด 15 : 5 และขนาด 30 : 10 อย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05
2.2 เมื่อความยาวและการให้คะแนนคงที่ แบบทดสอบผสมที่ใช้ในการสอบครั้งที่หนึ่งที่มีระดับ
ความยากเท่ากับระดับความสามารถของผู้สอบ (0.00) มีความแม่นยำาต่ำากว่า แบบทดสอบผสมที่ใช้ในการสอบ
ครั้งที่หนึ่งที่มีระดับความยากไม่เท่ากับระดับความสามารถของผู้สอบ (-0.50 และ 0.50) อย่างมีนัยสำาคัญที่
ระดับ .05
2.3 เมื่อความยาวและความยากคงที่ แบบทดสอบผสมที่ให้คะแนนข้อสอบแบบเขียนตอบ 3
ระดับ (0/1/2) มีความแม่นยำาสูงกว่าแบบทดสอบผสมที่ให้คะแนนข้อสอบแบบเขียนตอบ 4 ระดับ (0/1/2/3)
และ 5 ระดับ (0/1/2/3/4) อย่างมีนัยสำาคัญที่ระดับ .05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น