การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้น
ประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิง
โครงสร้างตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,109 คน ใช้ในการวิเคราะห์
องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) จำนวน 507 คน และใช้ในการวิเคราะห์
องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) จำนวน 602 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน
(Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครู
วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี เป็นแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า (Rating Scale) จ านวน 46 ข้อ ค่าความตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.80 ถึง 1.00
ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ ตั้งแต่ .270 ถึง .720 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.915 การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis :
EFA) และองค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21
โรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 7 ด้าน 46 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ, ด้านการ
สอนวิทยาศาสตร์ , ด้านความรู้ความสามารถในศตวรรษที่ 21 , ด้านความรู้การวัดและประเมินผลผู้เรียน,
ด้านความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , ด้านความรู้กระบวนการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร,
ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อผู้เรียนและด้านความสามารถการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยค่าน้ำหนัก
องค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านความสามารถการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ (0.878), ด้าน
ความรู้ความสามารถในศตวรรษที่ 21 (0.844), ด้านความรู้ความเข้าใจด้านการสอนวิทยาศาสตร์ (0.835 ),
ด้านความรู้การวัดและประเมินผลผู้เรียน (0.830) , ด้านความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(0.827) , ด้านความรู้กระบวนการจัดท าและพัฒนาหลักสูตร (0.811) และด้านคุณธรรม จริยธรรมต่อผู้เรียน
(0.592)
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง จากการตรวจสอบความสอดคล้อง กลมกลืน
ของโมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน
ประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี ที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์กำหนด ค่าไค-สแควร์
เท่ากับ 1002.88 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 954 ค่าความน่าจะเป็น (P-value) เท่ากับ 0.13229 ค่าดัชนีวัด
ระดับความกลมกลืน GFI = 0.933 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว AGFI = 0.924 ค่ารากของ
ค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปของคะแนนมาตรฐาน SRMR = 0.0166 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของ
ความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ RMSEA = 0.00923
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. วัจนารัตน์ ควรดีและณมน จีรังสุวรรณ (2558). “การปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21”,
วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา ปีที่ : 27 ฉบับที่ : 93 หน้า 13-14
3. วิจารณ์ พานิช (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 มูลนิธิสยามกำมาจล พิมพ์ครั้งที่ 1
กรุงเทพโอเพ่นเวิลด์ส
4. สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2557:5-10) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://www.pharmacy.cmu.ac.th
/unit/unit_files/files_download/2014 [สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2559].
5. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (2558 : 4-5) “สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย” [ออนไลน์].
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, ได้จาก:
http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1442-file.pdf [สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2560]
6. โสภณ นุ่มทอง (2559) “จะให้ข้าราชการครูในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะอย่างไร ” , วารสารข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ,ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม-มีนาคม หน้า 16-20
7. ฤตินันท์ สมุทร์ทัย (2556). การวิจัยน าร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูส าหรับศตวรรษที่ 21, การประชุม
ทางวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 “การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย” , วันที่
23-24 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
กรุงเทพฯ , อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด หน้า 135-136
8. James W. Pellegrino . (Feb 2017). Teaching, learning and assessing 21st century skills.
Pedagogical Knowledge and the Changing Nature of the Teaching Profession OECD
2017 , Educational Research and Innovation Pedagogical Knowledge and the
Changing Nature of the Teaching Profession