การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Main Article Content

รัฐพล พรหมสะอาด
สุรชัย มีชาญ
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้าน
การจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้
สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูประจำการ
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครอบคลุมจังหวัดระนอง พังงา
กระบี่ ตรัง และภูเก็ต จำนวน 1,173 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น
แบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และใช้โปรแกรม LISREL ในการ
วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทดสอบความสอดคล้องโมเดลการวัดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้กับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 17 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น องค์ประกอบที่ 1 ด้านการ
จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการ                                                                                                                                     เรียนรู้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4
ด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้
2. โมเดลการวัดสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย
มีค่าไคสแควร์ ( gif.latex?^{x}2 ) = 79.210, p=0.3773, df=75, ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ ( gif.latex?^{x}2/ df  ) = 1.056 ค่าดัชนี
GFI=0.990, AGFI=0.980, CFI=1.000 และค่าดัชนี SRMR=0.009, RMSEA=0.005 สำหรับค่าน้ำหนัก
องค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐาน ( gif.latex?\beta ) อยู่ระหว่าง 0.720 ถึง 0.870 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้าหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานมากที่สุดคือ สามารถสร้าง
เครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผู้เรียน(Eva2),
ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลายและสอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียน(Ac3) และ
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้
ตัวชี้วัด และผู้เรียน(Eva3) (gif.latex?\beta =0.870,0.860 และ 0.850 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. ได้จาก: http://media.wix.com/ugd/2cef27.pdf
[สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559].
2. จิติมา วรรณศรี. (2552). คุณภาพการศึกษากับสมรรถนะของครูที่พึงประสงค์. วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 32,
ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม. : 1-5.
3. ชรอยวรรณ ประเสริฐผล, อนุชา กอนพ่วง, วิทยา จันทร์ศิลา, ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2556).รูปแบบการพัฒนา
สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15, ฉบับพิเศษ.
4. ทัศณรงค์ จารุเมธีชน. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและ
ประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์ สาหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ราชกิจจานุเบกษา. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์
(หลักสูตร ห้าปี). เล่ม 128 ตอนพิเศษ 62 ง หน้า 12.
7. ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2556. เล่ม 130 ตอนพิเศษ
130ง หน้า 72 – 84.
8. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Backward Design. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
9. ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
10. สำนักกรรมาธิการ 3. (2555). เอกสารประกอบการพิจารณา เรื่อง ครูพันธุ์ใหม่ คณะกรรมาธิการการศึกษา
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่24. วันพุธที่ 21 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 3601
ชั้น 6 อาคารรัฐสภา 3.
11. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สังกัดสานักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
12. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
และแนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
13. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558) หลักสูตรฝึกอบรม (หลักสูตรกลาง) มาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา
9 มาตรฐาน ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
14. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
15. Forum Education Ministers’ Meeting. (2010). Pacific Islands Forum Secretariat, Forum
Education Ministers’Meeting Crown Plaza Hotel, Port Moresby, Papua New Guinea 13 –
14 October 2010 Session Four Improving Teacher Competency and Teaching
Effectiveness in the Pacific.
16. School of Education The College of William & Mary. (2014). Handbook for Practica &
Student Teaching Experiences. Williamsburg : U.S.A.
17. The National Institute of Education (NIE). (2009). A Teacher Education Model for the 21th
Century. Singapore : The National Institute of Education (NIE).
18. University of New Mexico College of Education. (2010). New Mexico Teacher Competencies
for Licensure. [Online]. Available from : http://teachnm.org/experienced- teacher/
nm-teacher-competencies.html?ai=1 [accessed 25 September 2017].