การพัฒนาความสามารถในการสื่อความหมาย และเจตคติต่อการเรียนภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนที่เน้นภาระงานเป็นฐานของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีน
ด้านการฟังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความสามารถในการสื่อ
ความหมายภาษาจีนด้านการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อ
ความหมายภาษาจีนด้านการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบ
ความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลัง
เรียน และ 6) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 สายภาษาจีน English Program โรงเรียนสารคามพิทยาคม อeเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จ านวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
ภาษาจีนที่เน้นภาระงานเป็นฐาน แบบทดสอบความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการฟัง แบบ
ประเมินความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการพูด แบบทดสอบความสามารถในการสื่อความหมาย
ภาษาจีนด้านการอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการเขียน และแบบวัดเจตคติ
ต่อการเรียนภาษาจีน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ
ความก้าวหน้า และสถิติทดสอบวิลคอกซัน Wilcoxon Matched Pairs Singed-Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนที่เน้นภาระงานเป็นฐานของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.05/77.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) ความสามารถ
ในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการฟังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการพูดของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับดี 4) ความสามารถในการสื่อความหมายภาษาจีนด้านการอ่านของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความสามารถในการสื่อ
ความหมายภาษาจีนด้านการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 6) เจตคติต่อการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ.
2. กฤตพงศ์ มูลมี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
(Task-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(2),73-79.
3.จิราพร ประพัศรานนท์. (2557). การพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
แบบเน้นงานปฏิบัติ (Task-based learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. นงลักษณ์ อัสสาไพร. (2552). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผสมผสาน. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 70-75.
5. นพรัตน์ ทองมาก. (2558) .การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่อง ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
โดยใช้รูปแบบปฏิบัติเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2553). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [ออนไลน์].
ฉบับวันที่ 14 มีนาคม 2553 ได้จาก : https://metchs.blogspot.com/2010/03/blogpost_9189.html [สืบคนเมื่อ 27 มีนาคม 2559].
7. รณพล มาสันติสุข. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับชั้นประถม-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ
: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
อ่านภาษาจีนเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสาร Veridian E-Journal
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10 (2), 996-1009.
9. Du Zongjing. (2011). The Analysis and Countermeasures of teaching Chinese in Thailand.
ECONOMIC AND SOCIAL DEVELOPMENT, 9 (7), 158-164.
10. Fan Wenyuan. (2007). Research into Task-based Language Teaching Thery and Its Application
in Spoken Chinese Teaching of TCSL. Master Thesis in Linguistics and Applied
Linguistics Shanghai Jiaotong University.
11. Kou Zhihui. (2011). Designing And Implementing Task-based Instruction for Teaching Chinese
as A Second Language. Ed.D.Thesis in Curriculum and instruction The Chinese
University of Hong Kong.