การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม, การบริหารงาน, องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมการบริหารงานในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพทั่วไปการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ พบว่า สภาพทั่วไป แบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านสังคม 3) ด้านการเมืองและการบริการจัดการ องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชดมีการวิเคราะห์ เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและข้อจำกัดเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นทางด้านต่างๆ เพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงจุดที่ประชาชนต้องการโดยถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย การแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลบัวเชด ตามแนวนโยบายการบริหารงานของภาครัฐ
หลักพุทธธรรมสำหรับการบริหารงานในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ 1) หลักอปริหานิยธรรม คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ 2) อิทธิบาท หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ มี 4 ประการ 3) หลักธรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการบริหารงาน ได้แก่ หลักศีล 5 และหลักพรหมวิหาร 4
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ พบว่ามีการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม ดังนี้ 1) การประยุกต์ใช้หลัก อปริหานิยธรรม การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 และ 3) การประยุกต์ใช้หลักธรรมอื่นในการบริหารงาน เช่น ศีล 5 และ พรหมวิหาร 4
Downloads
References
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา 2540.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ. [ออนไลน์],
แหล่งที่มา: http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp [20 พฤศจิกายน 2565].
สัมฤทธิ์ ท่าเหล็กเจริญ. (2546). “ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล:
ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรภาส ประสมสุข และ นิพนธ์ กินาวงศ์. (2550). “หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม”.
วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระมหาสุรชัย อาภากโร (กลางแก้ว). (2551). “การใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาการปกครอง ตาม
ระบอบประชาธิปไตย”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย.
บุญมี บุญเอี่ยม. (2544). “ศึกษาการนำอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการทำงานศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พระมหาสุภีร์ ฐิตเมโธ. (2533). “พระพุทธศาสนาที่ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารราชการ”.
วิทยานิพนธ์: ศูนย์เครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษา
มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระยุทธศักดิ์ อภินนฺโท (กลางแก้ว). (2551). “การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรตามแนว
พระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย.
ชาตรี แนวจำปา. (2552). “การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรสำนักป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐ
ประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์