ภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การพัฒนาชุมชน, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และ 3. นำเสนอภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า t-test ค่า F-test และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (=4.05) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม (=4.05) ด้านพัฒนาจิตใจประชาชน
    (=4.05) ด้านการการสาธารณสงเคราะห์ (=4.04) และด้านการศึกษาสงเคราะห์ (=4.04)
    2. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอ พบว่า 1) ด้านพัฒนาจิตใจประชาชน พระสังฆาธิการควรเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนได้เข้าใจหลักธรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ พระสังฆาธิการควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ขึ้นในวัด 3) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ พระสังฆาธิการควรแนะนำประชาชนประกอบสัมมาอาชีพที่เหมาะสม 4) ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พระสังฆาธิการควรส่งเสริมศีลปะวัฒนธรรม ควรจัดกิจกรรมสะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

รัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เจ้าอธิการวิชัย วิชโย (พลโยธา). (2565). “ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉลอง พันธ์จันทร์ ธีระพงษ์ มีไธสง และอภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2553). “การส่งเสริมศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนบ้านท่าขอนยางอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.

นนท์ชนันท์กรณ์ ฝ่ายเทศ. (2563). “คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามหลักสัปปุริสธรรมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุวรรณจันทรังษี (คำมุ โคตรโนนกอก). (2567). “การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครองของผู้ปกครองท้องที่ในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปัญญาฤทธิ์ สิริวฑฺฒโก (ฟ้าศุกล). (2565). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.

พระมหาณัฏฐพจน์ ขนฺติธโร (ร่องน้อย). (2564). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรติ ธมฺมโสภโณ (โศภิตธรรม). (2565). “การอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส. (2555). “ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระราชพุทธิญาณวงศ์. (2540). คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพมหานคร : อาธรการพิมพ์.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2564). “การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมชาย ปญฺาวุฑฺโฒ (ยอดศิรินทร์). (2567). “ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีระยุทธ ยะสาย และคณะ. (2561). “บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.

ศรีพนา ศรีเชื้อ. (2560). “การเสริมสร้างคุณลักษณะภาวะผู้นำที่พึงประสงค์ของนายทหารหญิงชั้นสัญญาบัตรกองทัพอากาศตามแนวพุทธธรรม”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. (2566). เขตการปกครอง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nafai-chaiyaphum.go.th/condition 26 กุมภาพันธ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08