บทบาทของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ในการผลักดันให้ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ ศรีแก้ว -
  • มาโนชญ์ อารีย์
  • กัลยา แซ่อั้ง

คำสำคัญ:

บทบาท, การระดมทรัพยากร, การเมืองในกระบวนการกำหนดนโยบาย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN)ในการผลักดันให้ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 2) เพื่อศึกษาแนวทางการระดมทรัพยากรภายในเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN)และระหว่างเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN) กับองค์กรเครือข่ายภายนอก ในการผลักดันให้ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-PAN)ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลักดันให้ พาราควอต คลอร์ไฟริฟอส และไกลโฟเซต เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มอาสาสมัครจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 2) กลุ่มอาสาสมัครจากองค์กรมหาวิทยาลัย 3) กลุ่มอาสาสมัครจากองค์กรหน่วยงานภาครัฐ ผลการศึกษาพบว่า 1) มีบทบาทในการเจารจาต่อรองและกดดันรัฐบาลโดยใช้ยุทธศาสตร์ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” โดยการสร้างความรู้จริง มีการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยยุทธการป่าล้อมเมือง และมีการใช้อำนาจทางการเมืองผ่านพรรคฝ่ายค้านและพรรคฝ่ายรัฐบาล 2) พบว่า มีการระดมทรัพยากรด้านข้อมูล ด้านวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยใช้ทุนส่วนตัวของสมาชิกภายในและภายนอกเครือข่าย และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิชีววิถีและ สสส. 3) พบว่า ผู้ค้าสารเคมีได้กดดันรัฐบาลให้เลื่อนการแบนสารเคมีและรัฐบาลไม่มีนโยบายที่ชัดเจนด้านความปลอดภัยในระบบเกษตรและระบบอาหารของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN). (2555). เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN). สืบค้นจาก https://thaipan.org/about

ณัฐวุฒิ จินารัตน์. (2554). กระบวนการผลักดันนโยบายสาธารณะ :ศึกษากรณี ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2550. วารสารการจัดการป่าไม้, 5(9), 10.

ตุ๊ แสนฤทธิ์. (2558). ปฏิวัติเขียว ยุคสมัยที่ หนอน นก หนู แมลง เริ่มวิวัฒนาการ ฉลาดกว่ามนุษย์. สืบค้นจาก http://www.raiporjai.com/pesticides.php?no=23&pg=1

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น การเมืองของใคร โดยใคร และเพื่อใคร สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/cover/pdf/content256.pdf

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). ประชาสังคมกับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศกำลังพัฒนา. วารสารสหวิทยาการวิจัย.

ประเวศ วะสี. (2550). หลักยุทธศาสตร์สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา. สืบค้นจาก https://www.oknation.net/post/detail/634d0a92085753d05a784ab3

ศิรินท์ภทรา สถาพรวงศ์. (2552). การกำหนดนโยบายพืชตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักข่าวอิศรา. (2560). เปิดตัวเลข 3 ปี ย้อนหลัง นำเข้าสารเคมีอันตราย พบ ‘ไกลโฟเซต’ สูงสุด มูลค่ารวม 1 หมื่นล้าน. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/content-page/item/59676-paraquat.html

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ. (2563). สปสช.ค้านเลื่อนห้ามใช้ 3 สารเคมีการเกษตรเผยผู้ป่วยพิษสารเคมี 5 ปี รวมกว่า 1.5 หมื่นคน,. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/news/2877

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08