รูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑

ผู้แต่ง

  • ดร.ณรงค์ศักดิ์ บัวอ่อน -
  • สุรศักดิ์ พันธุ์สง่า
  • พระปลัดณรงค์เดช อธิมุตฺโต เดชาดิลก

คำสำคัญ:

การพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะ, เสริมสร้างวินัยในการเรียน, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 และ 2) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกรอบของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะโดยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยการจัดสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 4 การหาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน โดยนำรูปแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 โรงเรียน เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เป็นเวลา 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรู้ 2) แบบประเมินความสามารถ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจแล้วทำการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะเพื่อเสริมสร้างวินัยในการเรียนของนักเรียน มีโครงสร้าง 3 ส่วน ส่วนแรกคือ องค์ประกอบของรูปแบบ ซึ่งองค์ประกอบของรูปแบบมี 6 ประการ ได้แก่ 1) หลักการเสริมสร้างวินัยในการเรียน 2) วัตถุประสงค์การเสริมสร้างวินัยในการเรียนโดยวิธีชี้แนะ 3) วินัยในการเรียนที่ต้องการพัฒนา 4) วิธีดำเนินการเสริมสร้างวินัยในการเรียนโดยวิธีชี้แนะ 5) การประเมินผลการพัฒนา และ 6) องค์กรรับผิดชอบ ส่วนที่ 2 คือ แผนการดำเนินการพัฒนานักเรียนโดยวิธีชี้แนะ ประกอบด้วย 5 ข้อได้แก่ 1) วินัยในการเรียน 2) วัตถุประสงค์ 3) การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน 4) สื่อการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผลการพัฒนา ส่วนที่ 3 เงื่อนไขการใช้รูปแบบการพัฒนานักเรียน

2.โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนมีวินัยในการเรียนได้ในระดับดี มีความสามารถเกี่ยวกับวินัยในการเรียนได้ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. (2565). การบริหารกิจการนักเรียน เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). การพัฒนากระบวนการเสริมสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยง โดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย.จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มนตรี ศรีเพชร. (2546). การศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้น สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลวรรณ แซ่ซื้อ (2550). ความท้อแท้ในกาปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีณา ก๊วยสมบูรณ์. (2547). การพัฒนากระบวนการชี้แนะทางปัญญาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาปรัชญาการศึกษาส่วนบุคคลของครูประจำการระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี (2547). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬามหาวิทยาลัย.

สิริพัชร ติราวรัมย์. (2553). การนิเทศแบบชี้แนะ( Coaching )เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของบุคลากร โรงเรียนบ้านกำไสจาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุจิตรา ธนานันท์ (2548). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) กรุงเทพมหานคร : ที พี เอ็น เพรส.

สุภาพ เต็มรัตน์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตภาคใต้ตอนบน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิยาลัยรามคำแหง.

อรนุช ชุมนุมดวง. (2554). การศึกษาผลการพัฒนาครูเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานโดยการนิเทศแบบชี้แนะ(Coaching) สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสะเดา(สามัคคีวิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์เขต 3

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2548). สอนงานอย่างไรให้ได้งาน (Coaching). กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement : An International Handbook. Oxford : Pergamon Press.

Sparks & Loucks-Horsley. (1989). Five Models of Professional Development. (Online). Available

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18