การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชาดกตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท

ผู้แต่ง

  • กมล บุตรชารี
  • วิเศษ เสาะพบดี
  • สมิตไธร อภิวัฒนอมรกุล
  • จรูญศักดิ์ แพง
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง

คำสำคัญ:

ชาดก, อรรถกถาธรรมบท, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชาดกในพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาที่มาและมูลเหตุของชาดกที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์ชาดกตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท วิธีการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา จำนวน 3 รูป/คน 2) คณาจารย์ที่เป็นเปรียญธรรม เก้า ประโยค จำนวน 2 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) ใช้วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยทางเอกสาร โดยเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ วารสาร หนังสือพิมพ์ บทความ และเอกสารทางวิชาการ รวมทั้งข้อมูลที่รวบรวมจากอินเตอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้องกับชาดกในอรรถกถาธรรมบท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า  1. ชาดกเป็นการกล่าวถึงการเกิดขึ้นและเส้นทางการเดินของพระโพธิสัตว์ในการเป็นพระพุทธเจ้าผ่านชาติต่าง ๆ โดยแสดงถึงความพยายามในการทำความดีและบำเพ็ญธรรมตลอดเวลา 2. พระพุทธองค์ทรงนำชาดกมาใช้ประกอบการบรรยายเพื่อสอนและแสดงแนวคิดที่มีความหมายที่ลึกซึ้งสอนให้รู้เรื่องหลากหลายเกี่ยวกับชีวิตและการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เข้าใจหลักการในดำเนินชีวิต 3. อภิปรัชญาทำให้เข้าใจแนวคิดเชิงลึกเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด กรรม และการหลุดพ้นจากทุกข์ ญาณวิทยาทำให้เห็นภาพชัดเจนของวิธีที่พระโพธิสัตว์แสวงหาความรู้ พิสูจน์ความจริง และพัฒนาความรู้เพื่อการบรรลุธรรมและหลุดพ้นจากทุกข์ คุณวิทยาทำให้เข้าใจคุณค่าทางศีลธรรมและคุณธรรมที่พระโพธิสัตว์ยึดถือและปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพ ฯ : กรมการศาสนา.

คณะทำงานคู่มือศึกษาชาดก. (2555). ประตูสู่ชาดก. กรุงเทพฯ : หอไตรการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (๒๕๒๗). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2560). ธมฺมปทฏฺฐกถาย ปฐโม ภาโค - อฏฐโม ภาโค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2548). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1-8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พระกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2554). ชาดกในธรรมบท 1. กรุงเทพฯ : ช่อระกา การพิมพ์.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2535). ชาดกกับวรรณกรรมไทย มหาวิทยาลัยรามกำแหง, โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามกำแหง.

ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. (2554). พระเจ้า 500 ชาติ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ธรรมสภา.

คำนวณ คำมณี. (2560). แนวคิดพุทธปรัชญาในวรรณกรรมหนังสือบุด เรื่องท้าวชมพูฉบับสถาบันทักษิณคดีศึกษา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 13(2), 129-130.

เดือน คำดี. (2552). ลักษณพิเศษของพุทธปรัชญาในคัมภีร์มิลินทปัญหา. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 4(2), 41-75.

พระมหาศักย์ศรณ์ คุณปญฺโญ (คงผล) สวัสดิ์ อโณทัย และสมบูรณ์ บุญโท. (2566). การบูรณาการพุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารพุทธมัคค์. 8(2), 1-13.

พระมหาสาคร วรธมฺโมภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่. 8(2): 11-23.

กัลยาณมิตร. ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจhttps://kalyanamitra.org/th/chadok500_detail.php?page=5262

วัชรญาณ. ปัญญาสชาดก. https://vajirayana.org/ปัญญาสชาดก

พระธรรมขันธ์. พระไตรปิฎกออนไลน์. https://84000.org/

ยสถิต สมเสงี่ยม. สาขาปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา คุณวิทยาhttps://www.satiter.com/2016/08/Philosophy-metaphysics-epistemology-Wittaya.html

พระมหาสมเจต สมจารี หลวงกัน. แนวคิดเรื่องอภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/139

โผน นามณี, ผศ.ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา พุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. 25 มิถุนายน 2567.

พระมหาเจริญ กตปุญฺโญ. อาจารย์ประจำหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. 25 มิถุนายน 2567.

พระมหาสิทธิชัย เตชวณฺโณ. อาจารย์สอนปริยัติธรรม แผนกบาลี วัดชัยมงคล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. 26 มิถุนายน 2567.

วิโรจน์ วิชัย, ดร. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงณราชิวทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. 28 มิถุนายน 2565.

สมเจต ยิ้มแย้ม. อาจารย์สอนปริยัติธรรม แผนกบาลี วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. 29 มิถุนายน 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-08