การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ประชาชน, การมีส่วนร่วม, ประชาธิปไตยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
- เพื่อนำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูล หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95) จำแนกรายด้าน ดังนี้ การออกเสียงเลือกตั้ง ( =4.09) การเปลี่ยนผู้ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญของรัฐ ( =4.08) การออกเสียงประชามติ ( =3.91) การมีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมาย ( =3.88) ตัดสินปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ ( =3.78) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนมีอายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอ พบว่า การออกเสียงเลือกตั้ง มีความเข้าใจในหน้าที่ของตน การเปลี่ยนผู้ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญของรัฐ มีการทำงานที่เปิดเผย การออกเสียงประชามติ มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ร่วมกัน การมีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมาย ยึดมั่นตามกฎกติกาเพื่ออยู่ร่วมกัน และตัดสินปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ ปรับความเห็นไปในทางเดียวกัน
Downloads
References
บรรณานุกรม
กัลยาสุดา บัวแก้ว. (2550). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย
จมื่นอมร ดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) (2513). ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพมหานคร : หอสมุดแห่งชาติ.
นิมิต ไชยรัตน์. (2551). “การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี”, สารนิพนธ์
ศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเมืองการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย,” เอกสารการประชุมวิชาการวัฒนธรรมการเมืองจริยธรรมและการปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช). (2564). “การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี”,ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระมหาชาตรี ชาครชโย (ลอดคาทุย). (2563).“การตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไป ในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2563). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเรวัฒ อคฺคาทโร. (2563). “ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี”. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
Nakata, T. (2000) Thai Democracy. Bangkok: Sahy Block and Karnpim Ltd.
Promgrid, P. (2014) “Democracy development anddemocratic political culture building”. Parliamentary Journal. Vol. 62 No. 7
Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.
Thamrong Thanyawong. (1999). Politics: Concept and Development. Bangkok: Sema Dharma Publishing.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์