การประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การประยุกต์, ส่งเสริมจริยธรรม, ผู้บริหารบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนราษฎรอยู่ในอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 83,760 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าทีเทส ค่าเอฟเทส และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.92) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านดังต่อไปนี้ คือ ด้านปัญญา ( =4.09) ด้านความกล้าหาร ( =3.92) ด้านความรู้จักประมาณ ( =3.88) และด้านความยุติธรรม ( =3.78) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ผลการนำเสนอ พบว่า 1) ด้านปัญญา ผู้บริหาร ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อตรงตามหลักนิติธรรม 2) ด้านความกล้าหาญ ผู้บริหารเป็นที่ไว้วางใจของชุมชน 3) ด้านความรู้จักประมาณ ควรตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ตรงจุด และ 4) ด้านความยุติธรรม ปฏิบัติราชการตามภารกิจด้วยความโปร่งใส
Downloads
References
บรรณานุกรม
กิติพัธ คำสุข, “การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๖).
ชยาวุธ จันทร และคณะ, วิวัฒนาการการปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น , ๒๕๔๓), หน้า ๔๙.
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์, เติมศักดิ์ ทองอินทร์ และ สุรพล สุยะพรหม, “การเสริมสร้างจริยธรรมทาง การเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา”, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม, ๒๕๖๓): ๑๔-๒๖.
ทิพย์พรรณ นพวงศ์ ณ อยุธยา, ประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๔๒), หน้า ๕๑.
ประทาน คงฤทธิศึกษากร, การปกครองท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนา
บริหารศาสตร์, ๒๕๓๕), หน้า ๖.
พระพลากร อนุพันธ์, “องค์ประกอบและตัวบ่งชี้จริยธรรมทางการเมืองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๖๔), หน้า ๘.
ไพศาล เครือแสง, ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมทางการบริหารตามหลัก ธรร มาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนล่าง”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘).
พระมหาบุญรอด อมรทตฺโต (สุวรรณโชติ), “การส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐).
พระยุทธนา ชยเมธี (ไกรนารถ), “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๖)
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, การเมืองแนวความคิดและการพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๓๐.,
ไพศาล เครือแสง, ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมทางการบริหารตามหลัก ธรร มาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนล่าง”, ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘).
พระยุทธนา ชยเมธี (ไกรนารถ), “การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๖)
พระครูสังฆรักษ์อภิชาติ สนฺติกโร, “การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ขอผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕).
Clarke John J.. Out Line of Local government of the United Kingdom. London: Sir Isaac Pitman & Sons, 1957.
Montagu Harris G.. Comparative Local Government. Great Britain: William Brendon and Son, 1984.
Robson William A.. Local Govern men in Encyclopedia of Social Science. New York: The Macmillan, 1953.
Yamane Taro. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row, 1967.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์