ความต้องการศึกษาต่อปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชลิดา กันหาลิลา วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิภาส ทองสุทธิ์
  • ดิเรก แสสนธิ์
  • สำราญ บุญเจริญ

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, ปริญญาตรี, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย 2. ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย และ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ นักศึกษาชั้นมัธยมปลายและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่คาดว่าสนใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่อยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 385 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 196 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ นักเรียนมัธยมปลายหรือผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1.ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัย สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์ต่องานและต่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ มีภาวะผู้นำกล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

2.ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร พบว่า มีการวางเป้าหมายศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน

3.ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หลักสูตรตรงความต้องการของตลาด จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ และมีรูปแบบค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่เหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ และคณะ. (2563). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์. 3(3). 107-129.

วรงค์ งิ้วเรือง. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาตรี (เทียบโอน) สาขาเทคโนโลยียานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2). 111-120.

วิทยาลัยนครราชสีมา. (2567). ข้อมูลทั่วไปวิทยาลัยนครราชสีมา. เข้าถึงได้จากhttp://www.nmc.ac.th/2018/aboutus.php (สืบค้น 22 พฤษภาคม 2567)

อุรัชชา สุวพานิช และสมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 12(2). 1-17.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd). New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18