ปัญหาอายุความยื่นฟ้องคดีละเมิดเพื่อเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง

ผู้แต่ง

  • ณภัทร ใจเอ็นดู มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศศิธร ถีสูงเนิน

คำสำคัญ:

อายุความ, ยื่นฟ้องคดีละเมิด, ค่าเสียหายทางแพ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี แนวคำพิพากษาของศาลและปัญหาการกำหนดอายุความกรณีความรับผิดทางละเมิด รวมถึงเปรียบเทียบกฎหมายจากต่างประเทศ และ 2. นำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาในการกำหนดอายุความยื่นฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสารโดยใช้หลักนิติศาสตร์เป็นฐานในการวิเคราะห์จากตัวบทกฎหมาย วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ และคำพิพากษา

           ผลการวิจัยพบว่า อายุความฟ้องคดีละเมิดของไทยมีระยะเวลาที่สั้นกว่ากฎหมายของประเทศเยอรมันและประเทศญี่ปุ่น ในมาตรา 448 วรรคแรกของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีการกำหนดอายุความเรียกร้องค่าเสียหายจากมูลละเมิดจะขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด ซึ่งกฎหมายนี้ใช้มาแล้วกว่า 99 ปี ควรขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องให้นานขึ้นเพื่อสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และมาตรา 426 ไม่มีการกำหนดอายุความในการฟ้องไล่เบี้ยผู้กระทำละเมิดไว้โดยเฉพาะยังใช้อายุความตามหลักทั่วไปอยู่ ควรบัญญัติอายุความการฟ้องไล่เบี้ยให้ชัดเจนลงในมาตราดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

References

กําธร กําประเสริฐ. (2552). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก. พิมพ์ครั้งที่ 6,

กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

คัมภีร์ แก้วเจริญ. (2527). ละเมิดกับสังคม. วารสารอัยการนิเทศ 79, 46(1), 79-89.

ปรีดี เกษมทรัพย์. (2557). นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสาร

ประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต).

พินิจ ทิพย์มณี. (2551).ทบทวนปรับปรุงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ศึกษาเฉพาะกฎหมายลักษณะ

ละเมิด.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2546). กฎหมายเปรียบเทียบไทยกับประมวลกฎหมายนานาประเทศ. พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

มนัญญา ธัชแก้วกรพินธุ์. (2558). อายุความ : ศึกษากรณีความรับผิดทางละเมิด.วิทยานิพนธ์

นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรพจน์ สืบประเสริฐกุล. (2558). สถานะของปัจเจกชนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศสมัยปัจจุบัน.

วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 4(1), 69-94.

วารี นาสกุล. (2563). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด การจัดการงานนอกสั่งลาภ

มิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทกรุงสยาม.

วันชัย แสงสุวรรณ์. (2550). การนำหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาใช้สนับสนุนหลักกฎหมาย

ทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วริญญา ธงภักดิ์และนพรุจ ศักดิ์ศิริ. (2565). การพัฒนางานพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กับ

สภาพปัญหาในการดำเนินคดีฆาตกรรม. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์.

(2). 186-203

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2563). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้.

พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สายสุดา นิงสานนท์. (2525). ความรับผิดเด็ดขาดในกฎหมายลักษณะละเมิด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร

มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิตา บุญปาน. (2565). ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมาย

แพ่งและพาณิชย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เสนีย์ ปราโมช. (2505). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย นิติกรรมและหนี้ เล่ม 1.

กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2558). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18