แนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิจังหวัดชัยภูมิ ตามหลักพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
แนวทางการบริหาร, การพัฒนา, เมืองชัยภูมิบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑)เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสภาพการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ ๒)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนา ๓)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิ ตามหลักพระพุทธศาสนา โดยการจัดเก็บข้อมูลในการรวมข้อมูล และจากการสัมภาษณ์กลุ่มเจ้าอาวาส ในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๒๐ คน โดยมีผู้ปกครองเจ้าคณะจังหวัดเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบล จำนวน ๑๐ รูป พร้อมผู้เกี่ยวข้องในการบริหารวัดอีก จำนวน ๑๐ คน โดยใช้วิธีการเจาะจงตามประเด็นที่ต้องการศึกษาวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาพบว่า การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสภาพการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ มีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและยังต้องประยุกต์หลักธรรมและการจัดการบริหารวัดให้เป็นไปตามสมัยกาล การบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนาต้องคำนึงถึงหลักการเดิมที่มีมา ถึงกาลเวลาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรแต่พระพุทธศาสนาก็ยังมีหลักธรรมที่เป็นของเดิม ดังนั้นการบริหารจัดการวัดในจังหวัดชัยภูมิ จะต้องยึดหลักเดิมในการเดินหน้าบริหารจัดการวัดไปด้วย แนวทางการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ดำเนินการด้วยหลักวิธีการ ตามที่ศึกษาเก็บข้อมูลมามีการบริหารในรูปแบบต่าง ๆ ก็จริงแต่ก็ไม่ละเลยการบริหารแบบเดิม คือการบริหารแบบลูกโซ่ โดยใช้หลักการบริหารจัดการวัดตามหลักพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เดิม เป็นแบบจะประยุกต์เปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ต้องกลับมาศึกษารูปแบบเดิมก่อน แล้วค่อย ๆ ปรับการบริหารวัดให้เป็นรูปแบบที่ทันสมัยและใช้ได้จริง
ดังนั้นเจ้าอาวาสในอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จึงมีการบริหารจัดการวัดที่ยังต้องปฏิบัติตามหลักเดิม แต่ก็ค่อยปรับเพื่อให้เข้ากันกับยุคสมัย ตามคำที่ว่าบริหารวัดให้ทันยุคสมัย โดยใช้หลักการบริหารเดิมเป็นฐานรากในการบริหารวัด
Downloads
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(๒๕๓๙) พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรมการศาสนา,(๒๕๔๐)“คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระ
ศาสนา”,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา
กองแผนงาน กรมการศาสนา (๒๕๔๒).กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วย
พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา
พระครูสิริอาภากร อำภา,(๒๕๕๐)“บทบาทเจ้าอาวาสด้านการปกครองและด้านการเผยแผ่ศาสน
ธรรม:กรณีศึกษาเจ้าอาวาสในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,)
เฉลิมพล โสมอินทร์, ๒๕๔๖ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์ไทย,
กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สูตรไพศาล,
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต),(๒๕๔๙) พุทธวิธีการบริหาร, (กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต),(๒๕๔๓), การเมืองมิใช่เรื่องของสงฆ์, (กรุงเทพมหานคร : เรือน
แก้วการพิมพ์, หน้า ๑๐๑.
Fremont E. Kast & Janes E. (๑๙๗๙) Rosewzweig. organization & Management (New
York) : McGrraw-Hitt,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์