ผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อนไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย แก้วโพนงาม -
  • ภัททิรา ก้านทอง
  • อณัญญา ลาลุน
  • กฤตเมธ นิติวัฒนะ
  • เสกศักดิ์ ปราบพาลา
  • รัชวุฒิ สุทธิ

คำสำคัญ:

โมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติ, ระบบบริการสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของ 6 ภาคี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.เพื่อการศึกษาผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ 2.เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน

จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 388 คน ความถี่และร้อยละของเพศชาย 170 คน (43.8%) เพศหญิง 216 คน (55.7%) และไม่ต้องการระบุ 2 คน (0.5%) ผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยที่สุด 24 ปี มากที่สุด         89 ปี อายุเฉลี่ย 59.0+11.69 เขตพื้นที่เมืองชัยภูมิ เนินสง่า เทพสถิต คอนสวรรค์ บ้านแท่น หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสาร บำเหน็จณรงค์ ภูเขียว จัตุรัส บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ และแก้งคร้อ คิดเป็นร้อยละ 24.7 6.7 6.2 5.9 5.9 5.9 5.9 5.7 5.7 5.7 5.7 5.7 5.4 และ 4.9 ตามลำดับ

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลของการนำแอปพลิเคชันโมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ไปใช้ในเขตนำร่องเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลจังหวัดชัยภูมิ โดยแอปพลิเคชัน“โมเดลธุรกิจวัยสีเงิน 4 มิติ”นี้มีความสำคัญในการวิจัย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ โดยให้คำแนะนำในมิติ 4 มิติ คือ สุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม และสุขภาพสิ่งแวดล้อม

2.ข้อเสนอเชิงนโยบายวัยสีเงิน 4 มิติของระบบบริการสุขภาพ บนพื้นฐานพฤติกรรมสุขภาพและการมีส่วนร่วมของ 6 ภาคีขับเคลื่อน ได้แก่ 1.ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยจัดตั้งศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจรในทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และงดสูบบุหรี่ 2.ด้านการรักษาพยาบาล พัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน (home-based care) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุ จัดตั้งคลินิกโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ 3.ด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุ 4.ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้สูงอายุ ร่วมมือกันในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ 5.ด้านการพัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้บุคลากรด้านการบริการสุขภาพผู้สูงอายุมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะที่จำเป็น 6.ด้านงบประมาณ จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการพัฒนาและระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ   7.ด้านกฎหมาย ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ออกกฎหมายควบคุมคุณภาพการบริการสุขภาพผู้สูงอายุ8.ด้านการวิจัย สนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ เผยแพร่ผลการวิจัยแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ9.ด้านการศึกษา บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในหลักสูตรการศึกษา จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกียรติดำรงค์ คันทะไชย์, ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข.(2565).ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพบริการที่

มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. RPU Journal of Business Administration, 1(2), 1-17.

ณัฏฐ์พิฌา ราษฎรดีเตชะกุล.(2566).13 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

ออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 128-134.

ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี, อุมาวดี เดชธำรงค์, ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี, และ เสกสรร สนวา.(2565).การพัฒนา

เครือข่าย “คนเลี้ยงไก่ ไก่เลี้ยงคน” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งเพื่อสร้างสังคมดีมีสุขอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไก่พื้นเมืองใหม่นาดีโมเดล. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(3), 1–14.

เนตรชนก สูนาสวน, อำนวย บุญรัตนไมตรี, ชัยยงค์ พรหมวงค์, และ อนันต์ เตียวต๋อย.(2565).การบริการ

สาธารณะและการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 296-306.

โรจนศักดิ์ แสงธศิริวิไล.(2561).การบริหารการจัดการธุรกิจบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่ม

ศักยภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์,13(2), Article 2.

อฌิกาภัคฆ์ ชาวศรี.(2563).แผนธุรกิจแอพพลิเคชั่นจำหน่ายสินค้าเพื่อผู้สูงอายุ. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/4648.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18