ระดับความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาจักรพล จกฺกวโร ศรีทิม -wat
  • พระครูสังฆรักษ์บุญเกิด ปญฺญาวชิโร
  • พระครูสมุห์ธนัย กลฺยาณกิตฺติ
  • พระมหาคำพันธ์ ปภากโร
  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, บริหาร, วัดมงคลโกวิทาราม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลและแนวทางในการสร้างความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม ตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนำไปใช้ในแนวทางในการสร้างความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทาราม โดยใช้วิธีผสมผสานกันทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 245 รูป/คน สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป /คน รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์จากเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเป็นธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทารามในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านการบริหารจัดการตามหลักคุณธรรม ด้านการบริหารจัดการตามหลักการมีส่วนร่วม  ด้านการบริหารจัดการตามหลักความคุ้มค่า ด้านการบริหารจัดการตามหลักความรับผิดชอบ และด้านการบริหารจัดการตามหลักความโปร่งใส ตามลำดับ สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก

ส่วนแนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานของวัดมงคลโกวิทารามนั้น ที่สำคัญ พบว่าหลักนิติธรรม วัดควรมีการวางแผน มีการปรับปรุงแก้ไข วางกฎระเบียบ ในการปกครองให้ดียิ่งขึ้นเข้มงวดสอดส่องดูแลให้บรรพชิต และคฤหัสถ์ในวัดเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยมากยิ่งขึ้น หลักคุณธรรม วัดควรเป็นที่ยึดมั่นใน ความถูกต้องดีงาม สนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ องค์การพัฒนาตนเองให้มีความซื่อสัตย์จริงใจขยันอดทน มีระเบียบวินัยประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำตน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม หลักความโปร่งใส วัดควรมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลประโยชน์และเสียประโยชน์หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และเปิดโอกาสให้ชุมชนมาร่วมดูแลผลประโยชน์ภายในวัด

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เจริญวงศ์ศักดิ์. กระบวนทัศน์วัฒนธรรมไทย: “ต้นตอ” เศรษฐกิจถดถอย. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย, ๒๕๔๑.

แก้วสรร อติโพธิ. การไต่สวนสาธารณะ: มาตรการยุติข้อขัดแย้งในงานจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, ๒๕๔๐.

กำหนด โสภณวสุ. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว. การค้นคว้าอิสระปริญญานิตาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ๒๕๕๑.

จรวยพร ธรณินทร์. ความหมายและหลักการของคุณธรรมศีลธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณและธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๖.

เจริญ เจษฎาวัลย์. การตรวจสอบธรรมาภิบาล ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พอดี, ๒๕๔๗.

จันทจิรา เอี่ยมมยุรา. รายงานวิจัยการพัฒนาระบบการจัดการคดีการเมืองในศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม, ๒๕๕๖.

จันทนา สุทธิจารี. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: วี.เจ พริ้นติ้ง, ๒๕๔๔.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. พิศ(ษ)ผู้หญิงในชีวิตของ “สันติวิธี”. กรุงเทพฯ: สามลดา, ๒๕๔๐.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู้. ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน, ๒๕๔๕.

ณดา จันทร์สม. “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย ความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล”, วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ๕๔(๑): ๑๐๗-๑๔๒;เมษายน, ๒๕๕๗.

ติณ ปรัชญพฤทธิ์. รัฐประศาสนศาสตร เปรียบเทียบ: เครื่องมือในการพัฒนาประเทศ. พิมพ์ครั้งที่๒. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18