พุทธวิธีการจัดการรายได้ตามหลักโยนิโสมนสิการ
คำสำคัญ:
พุทธวิธี, จัดการรายได้, โยนิโสมนสิการบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพุทธวิธีจัดการรายได้ตามหลักโยนิโสมนสิการนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า จะใช้หลักการคิด 10 วิธี ที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้จำแนกแจกแจงไว้ มาประกอบรวมเข้ากับหลักธรรมอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาและแนวคิดอื่นๆ จากหนังสือบางเล่ม เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการจัดการรายได้และปลดหนี้สินของพุทธศาสนิกชนไทยและครอบครัว ซึ่งบทความนี้ได้ถูกเขียนขึ้นด้วยทัศนคติที่ว่า พุทธศาสนิกชนผู้มีปัญญาสามารถใช้หลักโยนิโสมนสิการเข้าช่วยแก้ไขและเบาเทาทุกข์ในเรื่องนี้ได้
ในบรรดาหลักการคิดทั้ง 10 ข้อ บทความนี้ได้แนะนำให้ตั้งการคิดตามแบบอริยสัจ 4 เป็นหลัก และนำมาผสมกับการคิดแบบอื่นและหลักธรรมอื่นๆ จนพุทธวิธีดังกล่าวสามารถสรุปลงได้ 4 ข้อใหญ่ และ 4 ข้อย่อย คือ 1. พิจารณาปัญหารายได้หนี้สิน ซึ่งเป็นการมองเข้าไปดูความทุกข์ในเรื่องรายได้และหนี้สินในปัจจุบัน 2. พิจารณาเหตุและปัจจัยของหนี้สิน โดยการใช้หลักโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาตามหลักเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิด ซึ่งเหตุมันเป็นเพราะว่า รายได้เรานั้นน้อยกว่ารายจ่าย 3. พิจารณาความพอเพียงร่ำรวยไม่มีหนี้สิน การที่เราไม่มีหนี้นั้น ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ และมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ไม่มีหนี้และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง บางคนถึงกับร่ำรวยด้วยซ้ำ จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าปัญหานี้มีทางออก 4. ทางแห่งการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและปราศจากหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ข้อย่อย ได้แก่ 4.1 ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง จะช่วยทำให้วิธีการทำรายได้ให้ได้มากกว่ารายจ่ายสมฤทธิ์ผลได้ง่ายขึ้น 4.2 ป้องกันตัวจากรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การคิดแบบเร้าคุณธรรม รักษาศีล 5 ให้บริบูรณ์ 4.3 หาทางทำรายได้ให้ได้มากขึ้น ซึ่งถือหลัก “รายได้จำเป็นต้องมากกว่ารายจ่าย” เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการรายได้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงและปราศจากหนี้สิน 4.4. ป้องกันรายได้ที่มีอยู่ไม่ให้ลดลง ข้อนี้จะใช้โยนิโสมนสิการเพื่อยับยั้งหรือบรรเทาการเสียรายได้ที่เรามีอยู่ไม่ให้สูญหายหรือลดลงให้น้อยที่สุด
Downloads
References
บรรณานุกรม
พระไตรปิฎก
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๓๙.
หนังสือ
Juliet B. Schor. Born to Buy: The Commercialized Child and the New Consumer Culture. New York: Scribner ๒๐๐๔.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, พ.ศ. ๒๕๔๖.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศ้พท์. กรุงเทพฯ : ด่านสุธาการพิมพ์ จำกัด, พ.ศ. ๒๕๒๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพ: วัดญาณเวศกวัน, พ.ศ, ๒๕๕๖.
ดร. อนิวัช แก้วจำนงค์. หลักการจัดการ The Principle of Management. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ, พ.ศ. ๒๕๕๗.
รศ. สุพพตา ปิยะเกศิน. การเงินส่วนบุคคล Personal Finance. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. ๒๕๔๖.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. ๒๕๖๖ (๖ เดือนแรก). กรุงเทพ: กองสถิติพยากรณ์, พ.ศ. ๒๕๖๖.
ศ. สุมน อมรวิวัฒน์. การสอนโดยการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์, พ.ศ. ๒๕๓๐.
วิลาสินี วัฒนมงคล. “การคิดตามหลักโยนิโสมนสิการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ ๒๑”. วารสารปรัชญาปริทรรศน์. ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๑ มกราคม – สิงหาคม ๒๕๖๐.
Gary Hamel. The Future of Management การจัดการแห่งอนาคต. กรุงเทพ: ส. เอเชียเพรส, พ.ศ. ๒๕๕๒.
คุณวุฒิ บูรณเขตต์. เงินมีชีวิต. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, พ.ศ. ๒๕๕๕.
สมเด็จพระญาณสังวร. พอ หลักธรรมแห่งความพอเพียง. กรุงเทพ: ธรรมสภา, พ.ศ. ????.
อิเลคทรอนิค
Phongnarin Sukcham, SDG News, https://www.sdgmove.com/2022/04/26/thailand-nso-survey-income-household-rich-poor-inequality/, accessed ๒๑st February ๒๐๒๔.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์