การพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง

ผู้แต่ง

  • พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต
  • พระสฤทธิ์ สุมโน
  • พูลศักดิ์ หอมสมบัติ

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์ความรู้, การสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรม, กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง“การพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่ม ประเทศลุ่มน้ำโขง” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการในการพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย คือ คือ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน มัคทายก และนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 30 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ในเชิงลึก (Interviews)  เป็นเครื่องมือในการศึกษาแล้วนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่ออธิบายผลการวิจัยตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย

          ผลการศึกษา พบว่า

          1.องค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง พุทธศิลปกรรมมีพื้นฐานมาจากพุทธศาสนา คือ 1) หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง และหอพระบาท ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะผสมระหว่างพื้นบ้านอีสานกับศิลปะแบบไทยภาคกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้าน เป็นงานจิตรกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของเมืองอุบลราชธานี 2) สิมวัดแจ้ง เป็นสิมทรงท้องถิ่นอีสานอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูน ผัง สี่เหลี่ยมผืนผ้าบนฐานเอวขัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และ 3) วัดเมืองกลาง สปป.ลาว เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในแขวงจำปาสัก ตั้งอยู่แคมแม่น้ำโขง บ้านเมืองกลาง เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ใบลาน เป็นมรดกอันล้ำค่า ทางศิลปวัฒนธรรมธรรมที่ควรค่าแก่การบูรณะ และปกปักรักษาไว้

  1. การจัดกิจกรรมในการพัฒนาองค์ความรู้และการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรม คือ การบูรณะหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งใน ๓ ของดีเมืองอุบลราชธานี ดังมีคำพังเพยว่า“พระบทม์วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง”และการบูรณะสิมวัดแจ้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมในการสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมสิมวัดแจ้ง ได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพยายามให้คงสภาพใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด ด้วยความงดงามของศิลปะแบบอีสานแท้ๆและด้วยความมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
  2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมของกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายพัฒนาองค์ความรู้ด้านพุทธศิลปกรรมกับวัดทุ่งศรีเมือง และวัดแจ้ง อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือว่าวัดเป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปกรรมเป็นที่ศึกษาค้นคว้า มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ และสร้างความเชื่อมโยงของการเป็นแหล่งเรียนรู้พุทธศิลปกรรม และแหล่งจูงใจพุทธศิลป์ที่เป็นทัศนูปกรณ์ ในการเป็นสื่อสอนธรรมะได้อย่างยอดเยี่ยม พุทธศิลป์จึงมีคุณค่าต่อการสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมศิลปากร, การดูแลรักษาศิลปโบราณวัตถุ, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี. การสร้างสรรค์พระพุทธรูปเกสรดอกไม้เพื่อการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น.

รายงานการวิจัย : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.),2558

ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ:สำนักงาน

กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2559.

พระมหาคชินท์ สุมงฺคโล (อินทร์มนตรี), “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธสุนทรียศาสตร์บนจิตรกรรมฝา

ผนังในวัดสุทัศนเทพวราราม, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552

พระครูสังฆรักษ์สุทัศน์ มุนินนฺโท (ศักพันธ์) และฟื้น ดอกบัว.คุณค่าทางพุทธสุนทรียศาสตร์ในประเพณีวัฒนธรรม

การชักพระในภาคใต้ ประเทศไทย, รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2563

ภานุ สรวยสุวรรณ. พุทธปรัชญาปรัชญาสากล:เล่าเรื่องพุทธปรัชญาผ่านผลงานศิลปะแบบConceptual

art, รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562.

มโน พิสุทธิรัตนานนท์, สุนทรีย์วิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2547.

วิโรฒ ศรีสุโร รำลึก วิโรฒ ศรีสุโร, คณะศิลปะระยุกต์และการออกแบบ :มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สันติ เล็กสุขุม, จิตรกรรมแบบประเพณีและแบบสากล, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,

,

Graham, S., & Aurigi, A. (1997). Virtual Cities, Social Polarization, and the Crisis in Urban

Public Space. The Journal of Urban Technology, 4, 19-52. http://dx.doi.org/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27