การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษา : เทศบาลเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชลิดา กันหาลิลา
  • วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ
  • รชพล ศรีขาวรส

คำสำคัญ:

นโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา (2) ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา และ (3) ข้อเสนอแนะการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาในเขตเทศบาลเมือง 4 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองบัวใหญ่ เทศบาลเมืองสีคิ้ว เทศบาลเมืองเมืองปัก และเทศบาลเมืองปากช่อง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ

           ผลการวิจัยพบว่า 1.การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง โดยมีเจ้าหน้าที่สวัสดิการสังคมเป็นผู้ดูแลการจัดสรรงบประมาณการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยเฉพาะ สำนักงานเทศบาลเมืองเป็นสถานที่ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์อย่างเพียงพอ

           2.ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา พบว่าบุคลากร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาระงานส่วนอื่นที่ทับซ้อนอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมดูแลสวัสดิภาพในเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ

           3.ข้อเสนอแนะ เสริมสร้างพัฒนาบุคลากรเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ การจัดสรรเงินงบประมาณที่มีความเหมาะสม ข้อค้นพบเพิ่มเติม : ความร่วมมือผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจะทำให้การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเกิดผลสำเร็จ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/statistics_page?cat=1&id=2523.

กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทยสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566 จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566 จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1.

ตวงทิพย์ วงค์เลี้ยง และภาวิดา รังษี. (2565). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติในเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี 2(2): 58-66.

พรทิพย์ ทัพวัฒน์. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ 1(3): 37-53.

วณิชชา บูรณสิงห์. (2557). สวัสดิการผู้สูงอายุ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2566 จาก: https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/welfare/download/article/article_20120516063121.pdf.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย

วิศิษฏ์ เตชาวัฒนากูล. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพต่อการให้บริการผู้สูงอายุในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิราวรรณ โพธิ์เหมือน. (2563). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ การศึกษาปริญญาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

BBC New Thai. (2566). เกณฑ์จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ รัฐประหยัดงบหรือลดสวัสดิการประชาชน. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cw0n0lq41dxo.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27