การสร้างทักษะผู้เรียนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

ผู้แต่ง

  • พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน

คำสำคัญ:

ศตวรรษที่ 21, ผู้เรียน, ทักษะ

บทคัดย่อ

 

           เมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ผู้ปกครองคงเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะการติดต่อสื่อสารที่ผู้คนจากทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์มือถือ คือศูนย์รวมทุกอย่างที่ต้องการ หุ่นยนต์เข้ามาทำงานร่วมกับคนมากขึ้น และเมื่อลูกเติบโตขึ้นโลกก็จะยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้องค์ความรู้และเทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีแบบหลายช่วง เนื่องจากประชากรมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวขึ้น และมีแนวโน้มที่จะทำงานมากกว่าหนึ่งอาชีพในตลอดช่วงชีวิต และการสร้างทักษะให้กับผู้เรียนเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม เช่น การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เชื่อมโยงข้อมูล แก้ไขปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนจะสามารถปรับตัวและเข้ากันได้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ด้วยทักษะเหล่านี้ พวกเขาจะมีสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการประกอบอาชีพในอนาคตที่ท้าทายและเป็นไปได้สูงในโลกปัจจุบัน

           ดังนั้น การเรียนจากระบบการศึกษาเพียงครั้งเดียวเพื่อใช้งานตลอดชีวิตจึงไม่เพียงพอ รูปแบบการเรียนรู้จะเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะต้องเน้นการพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้เรียนได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จะต้องให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

References

ลัดดาวรรณ ศรีนวลจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนวัดลานนาบุญ. ระดับมหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รองศาสตราจารย์ ดร.จุลนี เทียนไทยและคณะ. (2563). การสร้างความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรมและทัศนคติในอนาคตของชาวดิจิทัลไทย. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช). หน้า 54 – 55.

มูลนิธียุววัฒน์. ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต. [ออนไลน์] การเข้าถึง วันที่ 8 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/ทักษะ-การเรียนรู้-learning/.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. 15 สัญญาณเปลี่ยนอนาคตการศึกษา. [ออนไลน์] การเข้าถึง วันที่ 8 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.eef.or.th/infographic-180422/.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2555). การเรียนแบบผสมผสานและการประยุกต์ใช้. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2554 - มกราคม 2555. หน้า 5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27