การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกความเร็วเพื่อพัฒนาทักษะการวิ่งระยะสั้น ของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โปรแกรมการฝึกความเร็ว, ทักษะการวิ่ง, การวิ่งระยะสั้นบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว 2) เพื่อเปรียบเทียบความเร็ว 3) เพื่อเปรียบเทียบความยาวของช่วงก้าว และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความถี่ในการก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาพบศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยจะเข้าร่วมโปรแกรม โดยจะเข้าร่วมโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว เป็นระยะ เวลา 8 สัปดาห์ จะทำการทดสอบความเร็วโดยแบบทดสอบวิ่ง 100 เมตร เก็บข้อมูลการทดสอบความโดยใช้ 1) โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว และ 2) แบบประเมินการทดสอบ (แบบบันทึก) ของโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ประกอบด้วย 3 แบบประเมินย่อย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเร็วในการวิ่งระยะสั้น 2) แบบประเมินความยาวของช่วงก้าว และ 3) แบบประเมินความถี่ในการก้าว นำข้อมูลจากการทดสอบมาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนกับหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าว คือ การทดสอบค่า t แบบ dependent และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาโปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า โปรแกรมฝึกที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตามความเหมาะสมของโปรแกรมร้อยละ 100 จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
- ผลการเปรียบเทียบความเร็ว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า
ค่าเฉลี่ยความเร็วในการวิ่งหลังการฝึกตามโปรแกรม ( = 12.52) ดีกว่าก่อนการฝึกตามโปรแกรม ( = 13.06) ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
- ผลการเปรียบเทียบความยาวของช่วงก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ค่าเฉลี่ยความยาวของการก้าวหลังฝึกตามโปรแกรม ( = 13.06) ดีกว่าก่อนการฝึก
ตามโปรแกรม ( = 12.52) ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4 ผลการเปรียบเทียบความถี่ในการก้าว ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกความเร็วที่มีต่อความยาวของช่วงก้าวและความถี่ในการก้าวของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ค่าเฉลี่ยความถี่ในการก้าวเท้าวิ่งหลังการฝึกตามโปรแกรม ( = 3.77) ดีกว่าก่อนฝึก ( = 3.47) ตามโปรแกรม ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Downloads
References
กัณฑิมา เนียมโภคะ. (2546). ผลของการฝึกความเร็วของสเต็ปเท้าในรูปแบบต่างๆที่มีต่อความเร็ว
ในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
จุฑามาศ แตงขาว และณัฐชนนท์ ซังพุก. (2564). ผลการฝึกวิ่งแบบผสมผสานที่มีต่อความเร็วและความ คล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลหญิง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช. 13(2), 171-178.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.
ศศิพงษ์ แสนนาใต้. (2562). ผลการฝึกเชิงซ้อนด้วยการฝึกวิ่งระยะสั้นแบบซ้้ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อ
และความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้้ในนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย ไกรสังข์. (2541). กรีฑาลู่. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธิศักดิ์ บุญหาญ. (2554). ผลการฝึกพลัยโอเมตริก ควบคู่กับ เอส เอ คิว ที่มีผลต่อความเร็ว
ในการวิ่ง 50 เมตร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อนันต์ อัตชู. (2536). หลักการฝึกกีฬา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Anderson, C. (2013). Running science. Champaign, IL: Human Kinetics.
Mc Ardle, W. D., Katch, F. I., & Katch, V.L. (2010). Exercise physiology: Nutrition, energy and human performance. 7th Edition. Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott William & Wilkins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์