พระพุทธศาสนากับรากฐานทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตชาวหนองคาย

ผู้แต่ง

  • พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนา, วัฒนธรรม, วิถีชีวิต

บทคัดย่อ

การสร้างความตระหนักและจิตสำนึก อย่างมีส่วนร่วมให้กับคนในชุมชนท้องถิ่นให้เห็นคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพราะเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาต่อยอดสู่การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากสหวิทยาการและความรู้สมัยใหม่เข้ากับความรู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่น ดังนั้น การพัฒนาวิถีชีวิตในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จึงไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้โดยปัจจัยภายในหรือศักยภาพที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่จะต้องเข้าใจสถานการณ์ภายนอกที่เป็นทั้งโอกาส ผลกระทบ และภาวะคุกคาม ในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ

           พระพุทธศาสนากับรากฐานทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตถือเป็นแนวทางหรือทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด และเผยแพร่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นำไปสู่การสร้างมูลค่าและโอกาสทางเศรษฐกิจรวมถึงกระบวนการทางสังคมและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

บุญสม ยอดมาลี. การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ปรับปรนและเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน. 2558. หน้า 68.

ประเพณีฮีตสิบสอง, กระทรวงวัฒนธรรม, [ออนไลน์]. https://www2.m-culture.go.th/amnatcharoen/ewt_news.php?nid=1259&filename=index). การเข้าถึง วันที่ 20 ธันวาคม 2566.

พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร (สุนนท์). การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยววัดและพุทธสถานเลียบแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 11 (พฤศจิกายน 2565): บทความวิจัย.

พระมหาประหยัด ปญฺญาวโร,ดร. วัดริมโขงหนองคาย. [ออนไลน์]. https://wrks.mcu.ac.th/?page_id=105. การเข้าถึง วันที่ 10 ตุลาคม 66.

อารักษ์ ตั้งวิจิตร. ภาคอีสานการพิมพ์ (999). 2545 แผ่นพับ “ประวติหลวงพ่อพระใส”. กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-27