การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมทักษะสมอง (EF) เด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • จันจิรา นาวารัตน์
  • จุฬาลักษณ์ สุตระ
  • สุดา เจ๊ะอุมา
  • สุชาดา จิตกล้า
  • สุพรรณิการ์ ศรีสุวรรณ

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, ทักษะสมอง EF, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) เด็กปฐมวัย และ 2 เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักสูตรอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย 3) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ค่าสถิตสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับครูปฐมวัยเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างองค์ส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ เท่ากับ 0.67-1.00

  1. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับครูปฐมวัยเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย หลังเข้าร่วมทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเข้าร่วมเป็นสถิติที่ระดับ 0.05
  2. ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง (EF) เด็กปฐมวัย พบว่า มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่กำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สําหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2558). การสอนแบบจิตปัญญา แนวการใช้ในการสร้างแผนการสอนระดับอนุบาลศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรสโปรดักส์.

ธิดา พิทักษ์สินสุข, สลิดา ทศานนท์, สรยศ พนายางกูร (บรรณาธิการ). (2562). วิกฤตปฐมวัยและแนว ทางแก้ไข. สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.

ธีราพร ปรีดีวงศ์.(2566) การพัฒนาครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะ สมองเพื่อความสำเร็จ (Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น.วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1,74-92. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JTPLC/article/view/262735

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559) การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการ คิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยมหิดล :กรุงเทพ

_______, นุชนาฏ รักษี, ปนัดดา ธนเศรษฐกร, อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, มหาวิทยาลัยมหิดล

.

มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรร่ วมสมัย.กรุงเทพฯ:ศูนย์ผู้น านวัตกรรมหลักสูตร และการเรียนรู้

.

วไลพร เมฆไตรรัตน์, ปรียาภรณ์ คงแก้ว.(2564). การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏภาคเหนือ, ปีที่ 11(ฉบับที่ 2,15-30).https://so02.tcithaijo.org/index.php/JGNRU/article/view/248707

วิทยากร เชียงกูล. (2547). เรียนลึก รู้ไว ใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ. นนทบุรี : สถาบันการเรียนรู้.

วีระศักดิ์ ชลไชยะ. (2560). พัฒนา EF ตั้งแต่ปฐมวัยรากฐานของการพัฒนาประเทศในยุค Thailand 4.0. เข้าถึงได้จาก http://www.thaipediatrics.org. (วันที่สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2565).

สุพัตรา ตาลดี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสมองของผู้เรียนระดับการศึกษาปฐมวัย ของ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาหลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภาวดี หาญเมธี.. (2559). ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ Executive Functions = EF. กรุงเทพฯ : สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).

สุภาวดี หาญเมธี (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ.: บริษัทมติชน จำกัด (มหาชน).

สุวรรณา จุ้ยทอง.(2565) ผลการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่มีต่อความสามารถในการสอนของ นักศึกษาครู. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)ปีที่12(ฉบับที่1,15-29) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/252852/172366

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูกเลิร์นนิ่งกรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EFExecutive Functions ในเด็กวัย 13-18 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไอดีออลดิจิตอล พริ้นท์จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 –2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

อรทัย บุญเที่ยง.(2562) ผลการศึกษาการบูรณาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function: EF) ของครูผู้ดูแลเด็กในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพ็ชร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัช เพชรบุรี. 9(1), 707-721. https://so06.tci-

thaijo.org/index.php/var/article/download/253829/173806/962776

Greenberg, M. T. (2006). Promoting resilience in children and youth: Preventive interventions

and their interface with neuroscience. Annals of the New York Academy of Sciences,

(1), 139-150.

Hanmethi, S. (2016). Phattanathaksa samong EF duai kan an [Develop Executive Funtions by

reading]. Bangkok: Ideol Digital Print.

William R. Tracy. (1988). Designing Training and Development System. American Management

Association,Inc. 1971 pp.86-95 School Reform. Chicago: Chicago University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26