ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พระสมชาย ปญฺญฃาวุฑฺโฒ ยอดศิรินทร์
  • พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ สุรปญฺโญ
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางการเมือง, ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธ, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 3) นำเสนอภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชาชนจำนวน 184,431 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.08) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ (  = 4.13) ด้านคุณลักษณะ (  = 4.10) ด้านพฤติกรรม (  = 4.07) และด้านตามสถานการณ์ ( = 4.01) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน
จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3) ผลการนำเสนอภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า 1) ด้านคุณลักษณะตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของหน่วยงานราชการที่วางเอาไว้ เข้าร่วมประชุมในการจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 2) ด้านบุคลิกภาพตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองเป็นผู้มุ่งมั่นผลักดันในการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขสถานการณ์ภัยพิบัติ มีการประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่ 3) ด้านพฤติกรรมตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองมีการตั้งมั่นติดตามสอบถามสถานการณ์ภัยพิบัติในเขตพื้นที่ มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน 4) ด้านตามสถานการณ์ตามหลักสัปปุริสธรรม ผู้นำทางการเมืองได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาดูแลจากการเกิดภัยพิบัติในเขตพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี. (2558). “ภาวะผู้นำการบริหารในภาวะวิกฤติ และยุทธศาสตร์การบริหาร จัดการสาธารณภัยด้านน้ำ เพื่อความมั่นคงของมนุษย์ยุคใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำภาค กลาง”. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) : 98-110.

จรินทร์ อิ้วสวัสดิ์. (2554). “ภาวะผู้นำด้านการกระจายอำนาจและยุทธศาสตร์ธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตยระดับท้องถิ่น ศึกษากรณีผู้บริหารท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย พ.ศ. 2554”, วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) : 259-268.

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2565). “ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2561) : 300.

นาคม ธีรสุวรรณจักร. (2554). “รูปแบบการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของ องค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดราชบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิชาภพ พันธุ์แพ, (2554) ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูรัตนสุตากร (ปราโมทย์ ล่องแก้ว). (2564). “การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนามาตรฐานจริยธรรมของผู้นาทางการเมือง”. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม 2564) : 20-30.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2555). ภาวการณ์เป็นผู้นำและการจูงใจ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จามจุรี

โปรดักท์.

สุดารัตน์ เกยุราพันธ์. (2561). “พุทธวิธีเชิงบูรณาการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการเมืองไทยปัจจุบัน”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อำนวย เหมือนวงศ์ธรรม. (2556). “บทบาทผู้นำองค์กรปกครองสวนท้องถิ่นในการส่งเสริมโครงการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงศึกษากรณีเขตพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม”.วารสารวิทยบริการบทบาทผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ, ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม -ธันวาคม 2556) : 36.

Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.

Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26