การสร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้
คำสำคัญ:
สร้างเครือข่าย, การปลูกป่าเชิงพานิชย์, อีสานใต้บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง“การสร้างเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ 2) เพื่อศึกษาเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืนของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้ 3) เพื่อวิเคราะห์การสร้างความยั่งยืนในจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ในพื้นที่อีสานใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมายมีจำนวน 45 คน โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงคุณภาพ อธิบายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรในพื้นที่อีสานใต้มีปัจจัยสำคัญในการปลูกป่าเชิงพาณิชย์ของชุมชนพุทธเกษตรพื้นที่อีสานใต้มี 7 ด้าน คือ 1. ปัจจัยด้านสร้างความมั่นคงด้านการถือครองที่ดิน 2. ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนแหล่งทุนและสินเชื่อ ในการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์ 3. ปัจจัยด้านโครงสร้างกฎหมายและนโยบายที่เอื้ออำนวยนโยบายทางการเมือง 4. ปัจจัยด้านระบบการปลูกและการจัดการ 5. ปัจจัยด้านการตลาดรองรับผลผลิตจากป่าไม้ 6. ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล และ 7. ปัจจัยด้านการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ส่วนเครือข่ายการจัดการปลูกป่าเชิงพาณิชย์มีจำนวน ๓ จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และยโสธร ส่วนการสร้างความยั่งยืนในจัดการปลูกป่าชุมชนพุทธเกษตรเชิงพาณิชย์มีความยั่งยืน 2 แนวทาง คือ 1. รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ชุมชน และ 2. เสริมสร้างเครือข่ายการจัดการป่าชุมชน
Downloads
References
กรมป่าไม้ .(2562). “คู่มือสำหรับประชาชน การปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ”. กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมป่าไม้.(2540). “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”. กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2540.
กาญจนา คุ้มทรัพย์ .(2558). “การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชน
บ้านดอนหมูจังหวัดอุบลราชธานี”,รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ณรงค์ ณ เชียงใหม่ . (2562). “การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”.
วารสารรูสมิแล :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โสภณ ชมชาญและคณะ .(2558). “ยุทธศาสตรที่ตองเปลี่ยนแปลงเพื่อความมั่นคงของชาติ”.
รายงานการวิจัย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
โสภณ ชมชาญ และคณะ .(2558). “ปัญหาการอนุรักษพื้นที่ปาไม้และการจัดที่ดินทากิน:
ยุทธศาสตร์ที่ตองเปลี่ยนแปลงเพื่อความมั่นคงของชาติ. รายงานการวิจัย :
สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.).
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยาและคณะ. (2563). “ความเป็นไปได้ในการปลูกไม้สักเชิงพาณิชย์”.
รายงานการวิจัย :สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุทธิพันธ์ อรัญญวาส,พระครูเอกุตตรสตาธิคุณและพระครูปริยัติวรเมธี. (2563). “ป่าชุมชน: แนวคิดทาง
นิเวศวิทยาในการจัดการป่าไม้ (ป่าชุมชน) ของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”.
รายงานการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). (2559).“การเสริมสร้างเครือข่าย 4 ภาคส่วนในสังคมไทย”.
กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
อคิน รพีพัฒน์.(2559).“การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา”. กรุงเทพมหานคร :
ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์