ความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร, การรับรู้, ความคิดเห็นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร และปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือประชาชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน เขตที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร และปัจจัยด้านประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน สำหรับที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ อาชีพ และปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
References
บรรณานุกรม
กองนโยบายและแผนงาน. 2563. สถิติข้อมูลชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561. สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร
กาญจนา ตั้งชลทิพย์และคณะ. 2562. นคราภิวัฒน์: เมืองน่าอยู่ และการกระจายตัวที่เหมาะสมของประชากรไทย, ในชุดโครงการ "นโยบายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางประชากรของประเทศไทย". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ, (ม.ป.ป). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. ตามประกาศคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ 1/ 2561 เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินและคุณสมบัติวิธีการ และกระบวนการในการพิจารณาการเป็นเมืองอัจฉริยะประเทศไทย
คณะทำงานสมาร์ทซิตี้ฯ. 2563. การพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การเป็นมหานครแห่งเอเชีย. วารสารพัฒนาข้าราชการ กทม.
พัชรี ชมพูคำ และณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข. 2563. ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 165 (กรกฎาคม – กันยายน 2563) หน้า 1-18.
จิรัชญา ศุขโภคา และสันติธร ภูริภักดี .2562. รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในองค์กรเอกชน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม – สิงหาคม 2562).
พชร โนนทิง. 2559.การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้ารางเบา ระยะที่ เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองขอนแก่นเป็นเมืองอัจฉริยะ. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักยุทธศาสตร์และการประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 -2575). คณะที่ปรึกษาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยขาราชการกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ
Reference
Tapananont,N.,Thammapornpilas,J.,Punnoi,N.,Vichienpradit,P.,Trakulkajornsak,K.,Tangswanit,P.,etal. (2018). Smart City Development. Unisearch Journal, 5(1), 3-8.
Worldometers. 2021. ประชากรโลก. https://www.worldometers.info/th/ ,14 มกราคม 2564
Economic and Social Affairs. 2014. World Urbanization Prospects: The 2014 Revision. United Nation.
Yamane, T. 1973. Statistic: an Introduction Analysis. 3rd ed. Tokyo: Harper & Row.
European Parliamentary. (2014). Mapping Smart Cities in the EU. Brussels: European Union Publishing
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์