การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุ ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ในวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนว อปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และ 3) นำเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 394 คน จากผู้สูงอายุ จำนวน 25,512 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวอปริหานิยธรรมของผู้สูงอายุในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ อยู่ในระดับมาก ( =3.79) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ( =3.81) ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรทางสังคม ( =3.79) และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง ( =3.76) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มี เพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี อายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3) ผลการนำเสนอ พบว่า ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้สูงอายุควรยอมรับกฎกติกา ควรไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ ควรเลือกลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัครที่ไม่กระทำผิดกติกา ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง ผู้สูงอายุควรร่วมรณรงค์ให้บุคคลอื่นเคารพความเห็นต่าง ควรมีส่วนร่วมในการชักชวนบุคคลในครอบครัวไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ควรร่วมรณรงค์ให้ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชนหรือองค์กรทางสังคม ผู้สูงอายุควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคารพกฎหมาย ควรมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองป้องกันให้กับคนในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
Downloads
References
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : THE LAW GROUP.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2564). “การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูศรีเมธาภรณ์ (ประภาส สายแก้วดี) และคณะ. (2565). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 มีนาคม- เมษายน.
พระนิคม จนฺทธมฺโม (สุขเจริญ). (2563). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการเมืองการ ปกครองตามแนวแห่งธรรมาธิปไตยในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง”, สารนิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.
พระมหาธีระยุทธ านรโต (รักสกุล). (2565). “การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ ในอำเภอ เมืองระยอง จังหวัดระยอง”, สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวรพงศ์ กุสลชโย (มหาจันทร์). (2563). “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการ รถไฟรางเบาของเทศบาลนครขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมพร กลฺยาโณ (พันธ์เชียงชา) และคณะ. (2566). “การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริม ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นในอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ”. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2566) : 10-18.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2554). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
Silverman. D. (2000). Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London: Sange.
Yamane. Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์