ผัสสะในภวังคจิตกับวิญญาณ 6 สู่การรับรู้ของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์
  • พระประเจน กรุตฺตโม
  • ไชยพร สมานมิตร

คำสำคัญ:

ผัสสะ, ภวังคจิต, วิญญาณ 6, วิถีจิต, การรับรู้

บทคัดย่อ

หากกล่าวถึงระบบการสัมผัสของร่างกายมนุษย์ คนทั่วไปก็จะนึกถึงการใกล้ชิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผัสสะ ไม่ว่าจะเป็น ตามองเห็น หูได้ยิน  จมูกได้ดมกลิ่น  ลิ้นได้รับรสชาติ กายได้สัมผัส และใจได้รับรู้ถึงอามรณ์ ผัสสะเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญมากที่จะนำพาดวงจิตของมนุษย์คนหนึ่งไปสู่ภวังคจิตและวิญญาณ 6 ได้ ในทางพระพุทธศาสนาก็ได้กล่าวไว้ว่า ผัสสะในภวังคจิต มี 4 ลักษณะ คือ ธรรมชาติโดยทั่วไปของภวังคจิต เป็นจิตที่ไม่อยู่ในฐานะรับอารมณ์หรือไม่รับรู้โลกภายนอกและผัสสะในวิญญาณ 6 มีสื่อเชื่อมต่อ คือ  อายตนะซึ่งทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ 2 อย่าง คือ เป็นทางรับรู้โลก หรือเป็นแหล่งนำโลกมาปรากฏต่อมนุษย์ และเป็นช่องทางเสวยโลก หรือเป็นประตูที่มนุษย์จะเปิดออกไปรับอารมณ์ที่เป็นรสอร่อยของโลกมาเสพเสวย จึงสื่อมาทางอายตนะและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตในฐานะเป็นสิ่งที่พึงสำรวมระมัดระวัง คุ้มครองรักษาด้วยสติ มิให้ยินดียินร้าย            มิให้หลงใหลในเรื่องราวที่เกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ให้มีสติในการดำเนินชีวิตรู้เท่าทันตลอดเวลาเป็นเหตุให้จิตใจสงบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บรรจบ บรรณรุจิ.(2556). จิตวิเคราะห์เปรียบเทียบพระพุทธเจ้ากับซิกมันด์ ฟรอยค์.กรุงเทพมหานคร:

ธรรมสภา

พระธรรมกิตติวงศ์. (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์อธิบายศัพท์และแปลความหมายคำ

วัดที่ชาวพุทธควรรู้.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต).(2546).พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร :

เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์

พระพรหมบัณฑิต.(2558). จุฬาฯ : วิชาการ : ปรัชญาบูรพทิศ .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย.

พระภุชงค์ ปญฺญาวุฑฺโฒ (ฉลาดดีสกุล) .(2561). ศึกษาวิถีจิตในการพิจารณารูป-นามในปัจจยปริคคห

ญาณวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน .(2545).การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องภวังคจิตในพุทธปรัชญากับ

อาลยาวิญญาณในพุทธปรัชญาโยคาจาร.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญา.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕).

มหาวงศ์ ชาญบาลี.(2550). พระวิสุทธิมรรค.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ธรรมบรรณาคาร

สรัญญา เตรัตน์.(2559).ผัสสะกับการใช้ชีวิตของคนตาบอด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.บัณฑิต

วิทยาลัย สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สุจินต์ บริหารวนเขตต์.(2536).ปรมัตถธรรมจิตสังเขปและภาคผนวก.กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.

Park, R. E., & Burgess, E. W. (1970). Introduction to the science of sociology: including

an index to basic sociological concepts. Chicago: University of Chicago Press.

Pink, S. (2009). Doing visual ethnography. Los Angeles, Calif.: Sage Publications.

Vannini, P., Waskul, D., & Gottschalk, S. (2012). The senses in self, society, and culture: A sociology of the senses. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28