การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากขยะมูลฝอย ตำบลหนองโดน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สำราญ วานนท์ Chaiyaphum
  • รจนา เมืองแสน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ , สร้างสรรค์, ขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากขยะมูลฝอย และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากขยะมูลฝอย ในตำบลหนองโดน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 384 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากขยะมูลฝอยของประชาชนในตำบลหนองโดน จากการมีส่วนร่วมของประชาชน ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการนำ ซองพลาสติกเครื่องดืมสำเร็จรูปและหลอดพลาสติก มาสร้างผลิตภัณฑ์กระเป๋าหรือตระกร้าจำหน่ายสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวและลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องทิ้งเป็นภาระต่อการจัดเก็บ 2) การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าถือ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญด้านความสะดวกสบายในการใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.42) ด้านหน้าที่ใช้สอย และ ด้านความสวยงามอยู่ในระดับมาก  ( = 4.34) เท่ากัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

สีช่วยชาวบ้าน. (2564). [ออนไลน์]. ชาวบ้านคัดค้านการเปิดบ่อขยะในพื้นที่ทนดมกลิ่น เหม็นกว่า

ปี จ.ชัยภูมิ. [สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564]. จาก https://news.ch7.com/

detail/480266?fbclid=IwAR1ou-Z-I8-lGcwFRd90wWnhZRiG1_5tAGcY-

q5osvB09UeuDJCCKPIdzHI.

ธงชัย ทองมา และ จิตราวดี รุ่งอินทร์ กันกา. (2563). การบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของ

ชุมชน โดยการจัดการขยะเหลือใช้ เพื่อยกระดับรายได้ ให้กลุ่มผู้สูงอายุและชุมชน กรณีศึกษา

ตําบลคลองโยง อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. ในการประชุม วิชาการระดับชาติและ

นานาชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6 (น. 60 - 70). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี:

เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พนารัตน์ เดชกุลทอง, เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี, และสามารถ สินทร. (2565). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อ

ผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มอาชีพสตรีทอผ้าไหมบ้านเสี้ยวน้อย อำเภอเมือง

จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, หน้า 67 – 81.

วรสุดา ขวัญสุวรรณ และสาทินี วัฒนกิจ. (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์

ออกแบบตกแต่ง และแฟชั่น: ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. รายงานวิจัย, สงขลา :

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน. (2564). [ออนไลน์]. สภาพทั่วไป. [สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน

. จาก https://www.nongdon-sao.go.th/condition.php

Pollution Control Department. (2018). Thailand State of Poluttion Report 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28